การจักสาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยที่มีมาช้านาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น หวาย ไม้ไผ่ กก ฯลฯ เพื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องมือใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ในปัจจุบันนี้ วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เริ่มหาได้ยากขึ้น จึงได้มีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เข้ากั[สภาวการณ์ปัจจุบัน คือ การนำเส้นพลาสติกมาใช้แทนวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ เพราะพลาสติกจะมีความแข็งแรงคงทน และหาได้ง่าย นอกจากจะสานเป็นกระบุงแล้ว สามารถนำมาประยุกต์เป็น กระเป๋า ตะกร้าลายสวย ๆ ได้อีกหลายแบบ
การจักสานถือเป็นอาชีพที่ชาวบ้านหินโงม หมู่ที่ 14 ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้หารายได้ ในยามที่ว่างจากการทำสวน ทำไร่ คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาในการทำจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้งจากการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่มีการจักรสานวัสดุหวาย ไม่ไผ่อยู่แล้ว รวมถึงในปี 2562 ทาง กศน.ตำบลสร้างนกทา สังกัด กศน.อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ได้จัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตร การสานตะกร้าพลาสติก โดยได้นำวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการทำตะกร้าสานพลาสติกมาให้ความรู้กับให้กับกลุ่มเป้าหมายและกระจายสู่คนในชุมชนจนได้เกิดเป็นกลุ่มฝึกอาชีพ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก มีปัจจัยแห่งความสำเร็จหลักๆ มีอยู่ 5 ประการคือ
1. การบริหารจัดการงานในการบริหารจัดการงานของกลุ่มจักสานในการผลิตผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย อาทิ ตะกร้า กระเป๋า กล่องใส่ของ ฯลฯ โดยแจกจ่ายงาน ตามความถนัดของแต่ละบุคคล โดยนำงานที่ได้รับกลับไปทำที่บ้าน เมือทำเสร็จแล้วก็นำผลงานมาส่งที่กลุ่ม กลุ่มจะมีคณะกรรมในการลงทะเบียนรับผลิตภัณฑ์ และตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานในแต่ละชิ้นว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่ เมื่อตรวจสอบเสร็จและตรงตามมาตรฐาน เหรัญญิกของกลุ่มก็จะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับเจ้าของผลงานชิ้นนั้นซึ่งเป็นการขายสินค้าให้กับกลุ่ม และทางกลุ่มก็จะเป็นผู้จัดจำหน่ายต่อไป โดยกลุ่มได้มีการบูรณาการในด้านการฝึกอบรมอาชีพ การสนับสนุนงบประมาณ การเสริมรายได้ร่วมกับกศน.ตำบลสร้างนกทา และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การบริหารจัดการทุนในการบริหารจัดการทุนของกลุ่มจักสานประกอบด้วย เงินสนับสนุนกลุ่มอาชีพของ กศน.อำเภอเมืองอำนาจเจริญ การลงทุนเงินหุ้น เงินสนับสนุนจากพัฒนาชุมชน งบประมาณสนับสนุนกลุ่มจากการขอรับการสนับสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก อบต. และภาคีเครือข่าย ที่ได้จากการประสานขอรับงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาทิเช่น ขอรับการสนับสนุนเปิดกลุ่มอาชีพจาก กศน.ตำบลสร้างนกทา ขอใช้ร้านค้าชุมชนตำบล เป็นที่รวบรวมสินค้า
3. การบริหารจัดการคนของกลุ่มจักสาน โดยสมาชิกกลุ่มที่มาจากการประชาสัมพันธ์เชิญชวน ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มมาสมัคร ซึ่งเป็นที่ต้องการหารายได้เสริมจะได้รับการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตาม ความถนัดในการจักสาน คณะกรรมการกลุ่ มได้แยกเป็นฝ่ายดังนี้ ฝ่ายทะเบียนเป็นผู้จัดบันทึกสินค้าที่สมาชิกนำมาส่งกลุ่ม ฝ่ายขายจะเป็นผู้นำสินค้าไปขายในงานต่างๆ ฝ่ายจัดซื้อเป็นผู้ซื้อวัสดุในการจักสานที่มาจากการคัดเลือกของสมาชิกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำหน้าที่ต่างๆ ในกลุ่ม ซึ่งมีการจัดสรรแบ่งปันรายได้ให้แก่สมาชิก ได้รับการศึกษาดูงานด้านอาชีพต่างๆ และมีการปันผลจากกำไรการขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ
4. การบริหารจัดการข้อมูลในการบริหารจัดการข้อมูลของกลุ่มจักสานประกอบด้วย รายชื่อสมาชิก ที่มาจากการการรับสมาชิก การลงเงินหุ้น บัญชีเงินฝากที่มาจากบัญชีรับจ่ายของกลุ่มฯ บันทึกรายงานการประชุมกลุ่ม ที่มาจากการประชุมและการจดบันทึกการประชุม บัญชีรายรับ รายจ่าย โดยการไปนำใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการเงิน งาน คน วัสดุ ให้มีประสิทธิภาพและใช้ในการแสดงความพร้อมในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ
5. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้กลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก ซึ่งได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนและภายนอกชุมชน เนื่องจากสินค้ามีความละเอียดประณีตมีคุณภาพและสวยงาม ประกอบกับมีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนสร้างนกทา จึงทำให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าและประชาชนทั่วไป
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้คนในชุมชนที่ผ่านการฝึกอาชีพ มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมขีดความสามารถ การแข่งขันทางเศรษฐกิจมีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ตำแหน่งที่ตั้ง : ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ 14 บ้านหินโงม ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ เบอร์โทร 088-3758994
การเดินทาง : ใช้เส้นทางถนนสาย อำนาจเจริญ – บ้านหินโงม ประมาณ 18 กิโลเมตร
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวอรดี ต้นโพธิ์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวอรดี ต้นโพธิ์
ข้อมูล TKP อ้างอิง https://shorturl.asia/u6BgK
Post a Comment