วัดประทุมสาคร ตั้งอยู่ที่บ้านนายาว หมู่ที่ 1 ตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 196 ทิศเหนือยาว 150 เมตร ติดต่อกับสวนและที่นาของเอกชน ทิศใต้ยาว 120 เมตร ติดต่อกับห้วยต้นสะท้อน ทิศตะวันออกยาว 100 เมตร ติดต่อกับที่นาของนายจรูญ ชยุติ ทิศตะวันตกยาว 15 เมตร ติดต่อกับแม่น้ำละอุ่น มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 100 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 195
พื้นที่วัดเป็นพื้นที่ราบสูงสภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่สวนและนาเอกชน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีศาลาการเปรียญกว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร โครงสร้างเสาคอนกรีต เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยสังกะสี จำนวน 4 หลัง โครงสร้างครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง หอฉันเป็นอาคารไม้ กว้าง 8 เมตรยาว 12 เมตร สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถ พระเพลากว้าง 1 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น .
วัดประทุมสาคร สร้างขึ้นโดยมีนายเอี่ยม บริจาคที่ดินและดำเนินการสร้างวัด เมื่อ พศ. 2420 เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ปกครองวัด เกี่ยวกับนามวัด ชาวบ้านเรียกกันแต่เดิมว่า”วัดละอุ่น” ตรงตามชื่อบ้านและได้เปลี่ยนเป็น “วัดประทุมสาคร” ในภายหลัง การบูรณะพัฒนาวัด ได้มีมาทุกยุคสมัย ของเจ้าอาวาส และได้รับการทำนุบำรุง จากประชาชน ให้วัดเจริญขึ้นตามสมควร
ปัจจุบันมี พระครูศรีวราปัญญกร เจ้าคณะตำบล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดประทุมสาคร ได้มีการบูรณะพัฒนาวัด อย่างต่อเนื่อง ได้รับการทำนุบำรุง จากประชาชน และกำลังจัดสร้างพระอุโบสถ โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2563 และยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสร้างความโดดเด่นของวัดประทุมสาคร
เมื่อเราเดินเข้าไปภายในวัดได้สัมผัสถึงความร่มเย็น เห็นต้นโพธิ์ใหญ่สูงสง่า เป็นที่ร่มเงา ด้านหน้าของวัดติดกับถนน เราจะศาลาหลวงปู่ทวด ดูเด่นเป็นสง่า เป็นศาลาเรือนไทย เป็นที่ประดิษฐานของหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ของคนละอุ่นเหนือ และชาวปักษ์ใต้ที่นิยมกราบไหว้บูชา เนื่องจากเชื่อว่าบารมีหลวงปู่ทวดจะช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ภายในเรือนไทยบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากการออกแบบที่สวยงาม โดดเด่น อากาศเย็นสบาย ภายรอบๆตัวเรือนไทย จะได้สัมผัสกับต้นไม้นานาชนิดที่หาดูได้ยาก และแปลกตา
พื้นที่วัดเป็นพื้นที่ราบสูงสภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่สวนและนาเอกชน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีศาลาการเปรียญกว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร โครงสร้างเสาคอนกรีต เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยสังกะสี จำนวน 4 หลัง โครงสร้างครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง หอฉันเป็นอาคารไม้ กว้าง 8 เมตรยาว 12 เมตร สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถ พระเพลากว้าง 1 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น .
วัดประทุมสาคร สร้างขึ้นโดยมีนายเอี่ยม บริจาคที่ดินและดำเนินการสร้างวัด เมื่อ พศ. 2420 เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ปกครองวัด เกี่ยวกับนามวัด ชาวบ้านเรียกกันแต่เดิมว่า”วัดละอุ่น” ตรงตามชื่อบ้านและได้เปลี่ยนเป็น “วัดประทุมสาคร” ในภายหลัง การบูรณะพัฒนาวัด ได้มีมาทุกยุคสมัย ของเจ้าอาวาส และได้รับการทำนุบำรุง จากประชาชน ให้วัดเจริญขึ้นตามสมควร
ปัจจุบันมี พระครูศรีวราปัญญกร เจ้าคณะตำบล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดประทุมสาคร ได้มีการบูรณะพัฒนาวัด อย่างต่อเนื่อง ได้รับการทำนุบำรุง จากประชาชน และกำลังจัดสร้างพระอุโบสถ โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2563 และยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสร้างความโดดเด่นของวัดประทุมสาคร
เมื่อเราเดินเข้าไปภายในวัดได้สัมผัสถึงความร่มเย็น เห็นต้นโพธิ์ใหญ่สูงสง่า เป็นที่ร่มเงา ด้านหน้าของวัดติดกับถนน เราจะศาลาหลวงปู่ทวด ดูเด่นเป็นสง่า เป็นศาลาเรือนไทย เป็นที่ประดิษฐานของหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ของคนละอุ่นเหนือ และชาวปักษ์ใต้ที่นิยมกราบไหว้บูชา เนื่องจากเชื่อว่าบารมีหลวงปู่ทวดจะช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ภายในเรือนไทยบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากการออกแบบที่สวยงาม โดดเด่น อากาศเย็นสบาย ภายรอบๆตัวเรือนไทย จะได้สัมผัสกับต้นไม้นานาชนิดที่หาดูได้ยาก และแปลกตา
ด้านข้างวัดเมื่อเดินเข้าไปเรื่อยๆเราก็ต้องตื่นตาตื่นใจกับบรรยากาศของสะพานสายซึ่งเป็นสะพานลวดสลิง ที่ใช้เดินทางข้ามระหว่าง หมู่ที่ 1 บ้านนายาวไปยังหมู่ที่ 2 บ้านบางญวน เราจะได้สัมผัสกับบรรยากาศของแม่น้ำละอุ่นเป็นงานที่ใส่อยู่ เราจะมองเห็นเพียงและปลาพลวงแหวกว่าย สองฝั่งของแม่น้ำเต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิด เราจะได้สัมผัสความตื่นเต้น ในขณะเดินข้ามสะพานสาย พร้อมกับเก็บภาพ ในบรรยากาศที่แสนสวยงามท่ามกลางหุบเขา และมองเห็นแม่น้ำที่คดเคี้ยว ทำให้เกิดความสบายตาสบายใจ
ตำแหน่งที่ตั้ง : ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
การเดินทาง :ใช้เส้นทางเพชรเกษม – ละอุ่น เข้าไปประมาณ 25 กิโลเมตร
ข้อมูลเนื้อหา เขียนโดย นางสาวผุสดี คงชุ่ม
Post a Comment