TKP HEADLINE

วัดเสาหิน


ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

    จากการสัมภาษณ์ นายสนั่น วงศ์แพทย์ (บ้านเลขที่ 142 บ้านปัว) และนางจำนองค์ สุภา (ชาวบ้านปัว) มีที่ดินติดกับโบราณสถาน)  ทราบว่า เดิมบริเวณนี้มีสภาพเป็นเนินดิน สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 1.5-2.0เมตร จน พ.ศ. 2515 จึงเริ่มถูกไถปรับที่พื้นทำไร่ และและไถปรับมาเรื่อยๆต่อมามีนายทุนจากกรุงเทพฯ มาชื้อที่ดินแปลงนี้ และขอออกโฉดที่ดิน จึงถูกไถปรับจนมีสภาพปัจจุบัน ชาวบ้านปัว เห็นว่า เป็นการทำลายของเก่าโบราณ ควรรักษาไว้เป็นมรกดของบ้านปัว จึงคัดค้านต่อต้าน และเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักงานสังฆ์ดังปัจจุบัน

ข้อมูลจากการสำรวจโบราณสถาน

      จากการสำรวจพบโบราณสถาน 2  และบ่อน้ำ 1 บ่อ ดังนี้

โบราณสถานหมายเลข 1  เนื่องจากการไถรับพื้นที่ ทำให้เห็นร่างรอยการเรียงอิฐเป็นแนว ทางวัดและชาวบ้านจึงขุดตามแนวอิฐดังกล่าว ปรากฏเป็นฐานอาคารโบราณสถาน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว่าง 4.6เมตร ยาว6.7เมตร ด้านทิศใต้เรียงอิฐแบบย่อมุมเล็กลงขนาดกว้าง

1.8 เมตร ยาว  2.4  เมตรอาจเป็นฐานบันไดทางขึ้น นอกจากนี้ยังปรากฏเศษกระเบื้องดินขอกระจากทั้งไป และก้อนหินทราย ขนาดใหญ่หลายก้อน

      โบราณสถานหมายเลข2 อยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข1มาทางทิศใต้ประมาณ20-30 เมตร ไม่พบแนวเรียงอิฐฐานอาคาร แต่เป็นบริเวณทีมีเศษอิฐและเศษกระเบื้องกระจายอยู่หลายแห่ง   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   ขนาดโดยประมาณ   กว้าง 9-10 ยาว 20-25เมตร

บ่อน้ำโบราณ  อยู่ห่างออกโบราณหมายเลข1 มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1เมตร คือ1.5 เมตร จากการสอบถาม  เดิมเป็นบ่อน้ำ ก่ออิฐโดยรอบที่ก้นบ่อมีแผ่นหินแกะสลักเป็นรูปคล้อยตัวอักษรแต่ปัจจุบันชาวบ้านนำท่อซีเมนต์มาก่อเป็นขอบบ่อ เพื่อกัดเก็บน้ำ ทำให้ไม่สามารถเห็นสถานที่เดิมได้ และมีการก่อสร้างอาคารโถมขนาดเล็กติดกับบ่อน้ำนี้

โบราณวัตถุที่พบ

จากการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุของชาวบ้านที่พบบริเวณนี้มีหลายประเภท ดังนี้

         1. ตะปูเหล็ก มีลักษณะเป็นแท่งเหล็ก รูปสี่เหลี่ยม ยาว ปลายแหลม อีกด้านหนึ่งหักงอ

         2. ตะกรันเหล็ก (slag)ลักษณะเป็นก้อนขี้แร่ มีรูพรุน

         3. กระเบื้องดินขอ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดใหญ่ เนื้อดินละเอียด

         4. ชิ้นส่วนภาชนะเผา พบจำนวนมากทั้งชนิดเนื้อดินธรรมดาไม่เคลือบผิวเนื้อแกรงเคลือบผิว

         ชนิดเนื้อแกร่ง (stone ware) พบทั้งเนื้อดินสีเทาไม่เคลือบผิว ประเภทไห  เนื้อดินสี่เท่าอ่อน เคลือบผิวสีน้ำตาลเข้ม  เนื้อดินสีเทาเคลือบสีเขียวไข่กา ประเภทจาน ชาน  เขียนลายสีดำใต้เคลือบใส เป็นลายจุดลานดอกไม้ และลานขีดเป็นเส้นวงลม  เครื่องถ้วยจีน เขียนลายสีน้ำเงินใต้เคลือบ

ข้อสันนิษฐาน

จากการสำรวจภาพของแหล่าโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบ  โดยเฉพระตัวอักษรที่พบบน

กระเบื้องดินขอ  ซึ่งเป็นตัวอักษรที่นิยมใช้กันในช่วง พ.ศ 2010-2099 และเครื่องถ่ายจากแหล่งเตาล้านนานั้น แสดงให้เห็นว่าโบราณสถานแห่งนี้เคยใช้ทำกิจกรรมทางศาสนาในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 20-21 หรือประมาณ 600-700

หมายเหตุ

ทำการสำรวจเมื่อวันที่  28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543

คณะสำรวจประกอบด้วย

      1. นายชินลวุฒ วิลยาลัย    พนักโบราณคดี 4

      2. นายอุดม ภิรมวงศ์  พนักงานดูแลโบราณสถาน

      3. นายวันทนา นาสะเต๊ะ     ช่างสำรวจ โครงการฯเชียงแสน

      4. นางสาวเสาวนีย์ เหล็กกล้า  ภัณเฑรักษ์พิพิธภัณเฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน  จังหวัดเชียงราย






อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงคำ สังสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา 

ที่อยู่ 158 ม.4 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

โทรศัพท์/โทรสาร 0-5445199-5 Facebook fanpage : กศน.อำเภอเชียงคำ Chiang nfe.

 

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand