TKP HEADLINE

บุญเดือน 3 ไขประตูเล้า ฮะเหง้าคนภูไท ตำบลนายูง อำเภอศรีธาตุ " สืบฮอยต๋า วาฮอยปู่ ฮีตปู่มิเฮ้ออย่า ฮีตย่ามิเฮ้อเส "

บุญเดือน 3 ไขประตูเล้า ฮะเหง้าคนภูไท ตำบลนายูง อำเภอศรีธาตุ

" สืบฮอยต๋า วาฮอยปู่  ฮีตปู่มิเฮ้ออย่า ฮีตย่ามิเฮ้อเส "

ภูไท เป็นชนเผ่า มีภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาอีสาน และมีอาชีพทำนาปลูกข้าวปีละครั้ง มีความเป็นอยู่ วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ขนบธรรมเนียมประเพณีก็คล้ายๆกับชาวอีสานทั่วไป

ประชาชนตำบลนายูง ตำบลหนองนกเขียน อำเภอศรีธาตุ เป็นคนไทยชนเผ่าหนึ่งที่อพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองแถนเมืองบก   เมืองวัง เขตรอยต่อของประเทศลาวและเวียดนามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3 คนภูไทนายูง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ยึดถือธรรมเนียม พิธีกรรมประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ถือเป็นอัตลักษณ์เฉพาะชนเผ่าภูไท เช่น ภาษาพูด การแต่งกาย พิธีกรรม วิถีความเป็นอยู่ อาหาร เครื่องมือประกอบอาชีพ มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน ช่วยเหลือกันทำงาน และเมื่อถึงวันขึ้น 3 ค่ำเดือน3 ชาวภูไทจะทำพิธีไขประตูเล้าสู่ขวัญข้าว คล้ายกับคนอีสานทั่วไป



ชาวอีสานแต่โบราณเชื่อว่า “วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันฟ้าไข(เปิด)ประตูฝน เพื่อให้ฝนตกลงมาสู่โลกมนุษย์ และเชื่อว่าวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่โลกมีความอิ่มและอุดมสมบูรณ์ที่สุด" ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูขี่ (ฮูขี่ แปลว่า รูทวารหนัก) หมากขามป้อมก็ต่าวหวาน” จึงถือ

 

คำกล่าวว่า “กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูขี่ (ฮูขี่ แปลว่า รูทวารหนัก) หมากขามป้อมก็ต่าวหวาน” จึงถือโอกาสเปิดประตูเล้าข้าว (ประตูยุ้งข้าว) ของตน ซึ่งปิดไว้ห้ามเปิดมาตั้งแต่วันเอาข้าวขึ้นเล้าหลังนวดข้าวเสร็จ ในประมาณกลางเดือนสิบสอง หรือต้นเดือนอ้ายเป็นอย่างช้า ซึ่งจะมี “พิธีเอาข้าวขึ้นเล้า” “พิธีสู่ขวัญข้าว” และ “พิธีตุ้มปากเล้า” ก่อนที่จะเปิดประตูเล้า และจะนำข้าวเปลือกที่อยู่ในเล้าไปถวายวัด ก่อนจะตักข้าวในเล้าลงมาตำกินในครัวเรือน (ซึ่งสมัยโบราณใช้วิธีการตำข้าวด้วย ครกมอง) เพื่อให้เป็นไปตาม “คองสิบสี่สำหรับประชาชน ข้อที่ 1” ที่บัญญัติไว้ว่าประเพณีบุญเปิดประตูเล้าสู่ขวัญข้าวหรือบุญเบิกฟ้า ทำพร้อมกันในเดือนสาม ขึ้นสามค่ำ เป็นฮีตหรือการทำบุญประจำเดือนของชาวภูไทที่ยึดถือมาแต่โบราณพิธีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีที่ชาวอีสานแต่ละครอบครัวจะทำกัน ถ้าครัวเรือนไหนจะสู่ขวัญข้าวก็จะจัด “พาขวัญน้อย” หนึ่งพา แล้วให้หมอสูดมาเป็นผู้ “สูดขวัญ” ให้เล้าข้าว โดยโยงด้ายสายสิญน์จากเล้าข้าวมาหาพาขวัญกับหมอสูดที่อยู่ข้างๆ ซึ่งในประเพณีอีสานในการสูดขวัญข้าวก็จะมีคำสูดขวัญโดยเฉพาะ สำหรับ คำว่า ไขประตูเล้า เป็นภาษาชาวเผ่าภูไท ซึ่ง ไขประตูเล้า แปลว่า เปิดประตูเล้า หมายถึงเปิดประตูเล้าข้าว  โดยทุกครัวเรือนจะเปิดประตูฉางข้าว(เล้าข้าว) ตอนเช้ามืด ทำพิธีบวงสรวงพระแม่โพสพ ผู้เป็นเจ้าของขวัญข้าว พร้อมกันนี้ ลูกหลาน จะทำพิธี ผูกแขน พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตนเอง ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู ต่อผู้มีบุญคุณ ความโอบอ้อมอารี ความสำนึกรักษ์บ้านเกิดนั่นเอง