TKP HEADLINE

ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า (วัดตะโหมด)

 


ตะโหมด ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๖๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง สังกัดคณะสงฆ์
มหานิกาย  มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตรว. นส. ๓ เลขที่ ๘๒๑ – ๒๒๕

อาณาเขต
ทิศเหนือ จดถนนสาธารณะและที่ดินของนายเวียง ดำเม็ง ทิศใต้ จดที่ดินของนายจัด ฤทธิเดชและนายสวาท ทองรักษ์ ทิศตะวันออก จดถนนสาธารณะทิศตะวันตก จดที่ดินของนางแผ้ว ชนะสิทธิ์และนางอำนวย ฤทธิเดช วัดตะโหมด ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีพระครูอุทิตกิจจาทร เป็นเจ้าอาวาส สังกัดมหานิกาย มีประวัติความเป็นมาดังนี้ วัดตะโหมดตามหลักฐานที่ปรากฏได้ตั้งมาเป็นเวลา 100 ปีกว่ามาแล้ว ครั้งแรกได้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดปัจจุบัน ระยะห่างกันประมาณ 5 เส้น แต่วัดเก่านี้ ประชาชนมักเรียกตามลำแม่น้ำว่า วัดเหนือ เพราะอยู่เหนือต้นลำธารของวัดปัจจุบัน.ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2370 หลวงพ่อไชยทอง หรือชาวบ้านมักเรียกท่านว่า พ่อแก่ไชยทอง ได้อยู่ปกครองวัดเหนือมาตามลำดับ แต่วัดเหนือแห่งนี้สันนิษฐานว่าคงไม่ได้รับอนุญาตสร้างเหมือนวัดปัจจุบันนี้ คงเป็นแค่เพียงสำนักสงฆ์ (ที่พักสงฆ์) เท่านั้น ครั้นมาถึงประมาณ พ.ศ. 2450 ได้มีหลวงพ่อเปีย ซึ่งเป็นพระที่ชอบแสวงหาที่สงัดในการบำเพ็ญภาวนา คือชอบอยู่ตามป่าช้า ได้เดินทางมาจาก วัดดอนคัน ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ได้มาเห็นป่าช้าแห่งนี้ ( บริเวณวัดปัจจุบัน ) เป็นที่สงบเงียบเหมาะแก่พระภิกษุจะใช้เป็นที่เจริญภาวนาในกาลต่อไป จึงคิดจัดตั้งสำนักสงฆ์ ( วัดปัจจุบัน ) ลงในป่าช้าแห่งนี้ ประชาชนก็ได้ช่วยกันบุกเบิกให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ ตั้งแต่นั้นมาและชาวบ้านมักเรียกวัดปัจจุบันว่าวัดใต้ เพราะอยู่ใต้แม่น้ำลำธาร ตอนนั้นมีวัดบ้านตะโหมดมีถึง 2 วัดคือ วัดเหนือ และวัดใต้ ทั้ง 2 วัดนี้คงไม่ได้รับอนุญาตจดทะเบียนให้วัดถูกต้องตามกฎหมายเหมือนอย่างทุกวันนี้ กาลต่อมาเมื่อสำนักแห่งนี้ ( วัดใต้ ) เจริญขึ้นตามลำดับ ประชาชนก็เกิดความเลื่อมใส่ศรัทธาใคร่จะบวชในสำนักสงฆ์แห่งนี้ จึงได้ช่วยกันจัดสร้างศาลาลงในแม่น้ำลำธาร เพื่อที่จะได้ทำการอุปสมบท เพราะในสมัยนั้นต้องใช้ศาลาในน้ำเป็นที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์ในปีพ.ศ. 2453 ชาวบ้านได้นิมนต์ พระช่วย อินฺทสโร มาจากวัดช่างทอง ( เดิมเป็นชาวปัตตานี ) มาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยมีพระครูจัน วัดสังฆวราราม ( วัดสังเขย่า ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนหลวงพ่อเปีย เมื่อท่านชราภาพมากแล้วท่านก็กลับไปสู่ภูมิลำเนาเดิมของท่าน ต่อมาพระช่วย อินฺทสโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอธิการช่วย อินฺทสโร เจ้าอาวาสวัดตะโหมด เป็นองค์แรกถูกต้องตามกฏหมาย ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ตามเลขทะเบียนกรมการศาสนาจนทุกวันนี้ในปีพ.ศ. 2464 เมื่อพระช่วย อินฺทสโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แล้วทางราชการได้อนุญาตให้เปิดโรงเรียนขึ้นที่วัดตะโหมดเป็นครั้งแรก ในวันที่ 12 มีนาคม 2464 โดยมีนายล้อม ชนะสิทธิ์ ( ขุนประนามตะโหมดภัย ) เป็นครูใหญ่ ซึ่งได้อาศัยศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เล่าเรียนของกุลบุตรกุลธิดาสมัยนั้น.ในปีพ.ศ.2477 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสร้างอุโบสถ จนสำเร็จ และได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันอังคารที่  7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ในระหว่างที่พระอธิการช่วย อินฺทสโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่นั้น ท่านได้ขยายเนื้อที่บริเวณวัดออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 ไร่




ในปีพ.ศ. 2481 พระอธิการช่วย อินฺทสโร ก็ถึงแก่มรณภาพลง ซึ่งมีพระเลื่อนและพระเซ่ง ซึ่งเดินมาจาก 
วัดเชิงแส อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นผู้ดูแลรักษาอยู่ระยะหนึ่ง.
ในปี พ.ศ. 2484 ท่านพระครูกาเดิม วัดบางแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าคณะหมวดในสมัยนั้น ได้นิมนต์ 
* พระหมุน ธมฺมปาโล ได้มาดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดตะโหมด เมื่อพ.ศ.๒๔๘๕ พระหมุน ธมฺมปาโล ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหมดองค์ที่สอง แล้วก็ได้คิดจัดสร้างปฎิสังขรณ์เสนาสนะขึ้นตามสมควร
ในปีพ.ศ. 2496 ได้คิดจัดสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 3 พิเศษขึ้น 1 หลัง ขนาด 4 ห้องเรียน ซึ่งมีพระปลัดจ้วนอตฺตมโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นกำลังในการสร้างจนสำเร็จ ต่อมาพระหมุนธมฺมปาโล ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นประทวน จากทางราชการร่วมกับคณะสงฆ์เป็นพระครูหมุน ธมฺมปาโล ( พระครูประทวน ) ต่อมาปี พ.ศ. 2500 พระครูหมุน ธมฺมปาโล ก็ได้ลงไปตั้งวัดที่วัดแม่ขรี ( ที่โรงเรียนบ้านแม่ขรีสวิงประชาสรรค์ปัจจุบัน )ปี พ.ศ. 2503 พระปลัดจ้วน อตฺตมโน วัดตะโหมด ได้ลงไปจัดตั้งวัดแม่ขรีขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ( วัดแม่ขรีปัจจุบัน ) ด้วยการเรียกร้องของชาวบ้านในขณะนั้น ต่อมาพระครูหมุน ธมฺมปาโล ซึ่งอยู่วัดแม่ขรีแห่งเก่า (ที่โรงเรียนแม่ขรีประชาสรรค์ ) ซึ่งเป็นสถานที่ไม่เหมาะสมจึงได้ย้ายมาอยู่ที่วัดแม่ขรีแห่งใหม่ ( วัดปัจจุบัน ) เมื่อพระครูหมุน ธมฺมปาโล ย้ายมาอยู่วัดแม่ขรีแห่งใหม่แล้ว พระปลัดจ้วน อตฺตมโน กลับมาอยู่ที่วัดตะโหมดตามเดิม พ.ศ. 2509 ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้น 1 หลัง ขนาด 14 – 27 เมตร หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องเคลือบสี พ.ศ.2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จเปิดห้องสมุดประชาชนที่วัดตะโหมดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2522 วัดได้ขยายอาณาเขตจากการอุทิศที่ดินจำนวน 2 ไร่ จากนายอ่องเเละนางจำเริญ ไชยโยธาเเละพระปลัดจ้วนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัติเจ้าคณะตำบลชั้นตรี มีพระราชทินนามว่า พระครูอุทิศกิจจาทร พ.ศ.2526 กรมศาสนาให้วัดตะโหมดเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ.2530 กรมศาสนาให้วัดตะโหมดเป็นวัดพัฒนาดีเด่น เเละเเม่กองธรรมสนามหลวงอนุมัติให้วัดตะโหมดเป็นสนามสอบธรรมสนามหลวงจนถึงปัจจุบัน




ปัจจุบันวัดตะโหมดตั้งอยู่บนหมู่ที่ 3 ต.ตะโหมด  อ.ตะโหมด จ.พัทลุง มีเนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา มีธรณีสงฆ์1 ไร่ 3 งาน  ปัจจุบันสถานเเห่งนี้ยังคงเป็นที่เคารพนับถือ บูชา ของชาวบ้านตะโหมด เเละชาวบ้านใกล้เคียง  เป็นอีกหนึ่งในร้องเรื่องราวของเมืองตะโหมดที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่ท่านต้องมาสัมผัสด้วยตนเอง

ข้อมูลเนื้อหา นางอรัญญา  อามีน ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลตะโหมด
ลิงค์อ้างอิงเพื่อตรวจสอบ จากหน้สเว็บของ กศน.ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง          
https://sites.google.com/d/1lClzigTERXjfVYXZW8NvdBVw_fKh4jU9/p/1nyRSxMyNoQ4bV2immcrqpRuepxqRVxW/edit



Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand