TKP HEADLINE

ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ด้านการเกษตรผสมผสาน

 




สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพัทลุง

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีบรรพต

1. ข้อมูลทั่วไป  

นายทนงค์  แสงเกิด  Smart  Farmer  ต้นแบบระดับจังหวัด  

ด้านการเกษตรผสมผสาน/เกษตรทฤษฎีใหม่  จังหวัดพัทลุง

2. ข้อมูล  Smart  Farmer  ต้นแบบ

2.1 ชื่อนามสกุล  :  นายทนงค์  แสงเกิด   

2.2 วัน  เดือน  ปีเกิด : 17 พฤศจิกายน  2505

2.3 ระดับการศึกษา  :  มัธยมศึกษาปีที่  3

2.4 สถานบันการศึกษา  :  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

อำเภอควนขนุน  จังหวัดพัทลุง

2.5 ที่อยู่  : บ้านเลขที่  76  หมู่ที่  3  ตำบลเขาย่า  อำเภอศรีบรรพต  จังหวัดพัทลุง

2.6 เบอร์โทรศัพท์  :  089-2987493

2.7 เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง  (Smart  Farmer)  

ประจำปี พ.ศ.2560

3. ปัจจัยความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตรของ  Smart  Farmer   ต้นแบบ

3.1 การใช้นวัตกรรม  หรือเทคโนโลยี  หรือวิธีการผลิตอะไร

-การทำนาข้าวอินทรีย์แบบลดต้นทุน  เทคโนโลยีที่ใช้ในการปลูกข้าวต้นเดียวและการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง

-การปลูกผักโดยปลูกแฝกเป็นแนวกันชนระหว่างแปลง ป้องกันการเกิดโรคและแมลง

3.2 การนำนวัตกรรม หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี มาใข้ในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างไร  เช่น สามารถเพิ่มผลผลิต หรือลดต้นทุนการผลิต ถูกกว่า/ดีกว่า/ไวกว่าเดิมอย่างไร เป็นต้น

1.ใช้เมล็ดพันธุ์ 3 ขีด ต่อข้าว 1 ไร่ ปลูกแบบปักดำต้นเดียวเมื่ออายุกล้า 15 วัน  ระยะห่าง 50x25  เซนติเมตร  เมื่ออายุข้าว  25  วัน  เปิดน้ำออกให้หมดจนน้ำในนาแห้ง  ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ  5  วันจนดินแตกระแหง  ใส่ปุ๋ยหมัก  จำนวน  25  กระสอบต่อไร่  ปล่อยน้ำเข้านา  ประมาณ  5  เซนติเมตร  ตลอดฤดูกาล  เพื่อเร่งการแตกกอ ข้าว 1 ต้น แตกกอเป็น  132  ต้น  เฉลี่ย  132  รวง/กอ  ซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ข้าว  ค่าปุ๋ยเคมี  ค่าน้ำ  ค่ากำจัดวัชพืชและค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง  ค่าลงทุนไร่ละ 2,000  บาท  และได้ผลผลิตไร่ละ  1,000  กิโลกรัม  (ข้าวหอมปทุม)

2.ฝังท่อพีวีซีจากบ่อเลี้ยงปลา ลงสู่นาข้าวโดยการทำกาลักน้ำ ทำให้ลดต้นทุนจากค่าปุ๋ยเคมีและค่าสูบน้ำ  นอกจากนั้นยังนำน้ำแบบการลักน้ำไปใช้ในปาล์มน้ำมัน มะพร้าวน้ำหอม กล้วยหอมทอง  

3.ใช้ฟางข้าวมาทำปุ๋ยหมัก  เพื่อทำนาครั้งต่อไป  เพื่อให้ประหยัดต้นทุนมากที่สุด

4.เลี้ยงหมูแบบเคลื่อนที่เพื่อปรับปรุงดินให้ดีขึ้น

5.การปลูกผักโดยปลูกแฝกเป็นแนวกันชนระหว่างแปลง ป้องกันการเกิดโรคและแมลง

3.3 ด้านการบริหารจัดการ  ที่โดดเด่นหรือแตกต่างจากเกษตรกรท่านอื่น

1.กระบวนการผลิต

ยึดหลักแนวทางทฤษฎีใหม่  แบ่งพื้นที่ออกเป็น  4  ส่วน  ในพื้นที่  20  ไร่  ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ 5 ไร่  สำหรับใช้น้ำตลอดปีและเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ  ขุดบ่อเลี้ยงปลาจำนวน  7  บ่อ/ 1 ไร่ สำหรับเลี้ยงปลาดุก  ทำนา  2  ไร่  ปลูกไม้ผล  4  ไร่  ปลูกไม้ยืนต้น  4  ไร่  ปลูกพืชผัก  3  ไร่  และที่อยู่อาศัย  1  ไร่  

เน้นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์  ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี  และจัดกิจกรรมการเกษตรแต่ละกิจกรรมที่เกื้อกูลกันไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลิตให้มีรายได้ต่อเนื่องของกิจกรรม รายวัน  เลี้ยงไก่ไข่ รายสัปดาห์ หน่อไม้ กล้วย ชะอม ผักบุ้ง มะพร้าว รายเดือน เลี้ยงหมูพื้นบ้าน ทำปุ๋ยเคมี รายปี  ปลา  

2.การจัดการผลผลิต

ผลผลิตข้าว  ตัดด้วยเคียวเพื่อลดการสูญเสีย ตากข้าวแห้งก่อนนวดข้าว ด้วยเครื่องนวดข้าวขนาดเล็ก ตากข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้น เก็บใส่กระสอบไว้สีเพื่อบริโภคในครัวเรือน

ผลผลิตอื่น คัดตามขนาดและคุณภาพ

3.การจัดการด้านการตลาด

การเลี้ยงปลาดุก  ตามโควต้าที่จัดจำหน่ายให้กับพ่อค้าและแปรรูปจำหน่าย

ผลผลิตพืชผัก/ผลไม้ จำหน่ายผลผลิตโดยตรงกับผู้บริโภค  ตลาดพื้นบ้าน และมีพ่อค้ารับซื้อที่สวน

มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย

3.4 การแสวงหาความรู้ในการประกอบอาชีพ  และการเชื่อมโยงเครือข่าย

-มีการหาความรู้เพิ่มเติม  โดยเข้าร่วมการอบรมเพิ่มความรู้ของหน่วยงานต่าง ๆ อยู่เสมอ

-เป็นกรรมการ ศพก. เป็นหมอดินอาสา  เป็น อกม.  เป็นประธานกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์  กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มส่งเสริมการผลิต  ในพื้นที่  เชื่อมโยงกับกลุ่มต่าง ๆ ในอำเภอ  และเป็นวิทยากรด้านการทำไร่นาสวนผสม ด้านเศรษฐกิจพอเพียง  ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่  แก่หน่วยงานต่าง ๆ

4. การขยายผลความสำเร็จของตนเองไปสู่ชุมชน  มีวิธีการ/รูปแบบอย่างไร  และเกิดผลสำเร็จอย่างไรบ้าง

-เปิดศูนย์เรียนรู้ที่บ้าน

-เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้

-เกษตรกรมาศึกษาดูงาน  และนำกลับไปปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง

5. เจตนารมณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตร

-ทำการเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชา  เพื่อให้สามารถอุ้มชูตัวเองได้  และสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

6. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านของนายทนงค์ แสงเกิด หมู่ที่  3ตำบลเขาย่า  อำเภอศรีบรรพต  จังหวัดพัทลุง   เปิดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน วิถีวัฒนธรรมตนเขาย่า โดยจัดกิจกรรมเทศกาลกินปลาหมอ และการแข่งขันจับปลาหมอ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ศูนย์เรียนรู้หมอดินอาสาประจำตำบล

รางวัลที่ได้รับ

- หมอดินอาสาดีเด่นชนะเลิศอันดับ 1 สาขาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน                                                                           

- หมอดินอาสาดีเด่นชนะเลิศ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 สาขาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการเกษตร

จากสภาพพื้นที่เดิม  เป็นพื้นที่ที่มีน้ำแช่ขัง  เมื่อได้เข้าร่วมโครงการจัดทำแปลงสาธิตงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ  ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 3 ขุดคูยกร่อง ได้มีการนำหญ้าแฝกมาปลูกบริเวณคันคูยกร่อง และบริเวณขอบสันบ่อดักตะกอนดิน  เพื่อป้องกันกันชะล้างพังทลายของดิน ส่วนในบริเวณบนร่องคันดิน ใช้ปลูกพืชผักหมุนเวียนกันไป เช่น ถั่วฝักยาว บวบ มะระ ข้าวโพด พริกขี้หนู โดยตัดใบหญ้าแฝกมาคลุมโคนต้นพืชและบริเวณระหว่างร่องแปลงพืชผัก หลังจากใบหญ้าแฝกย่อยสลาย ดินในบริเวณดังกล่าวจะมีความร่วนซุยเพิ่มขึ้น และยังพบว่าพริกขี้หนูที่ปลูกคู่ขนานกับแนวหญ้าแฝก มีความอุดมสมบูรณ์ ต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง และมีอายุในการให้ผลผลิตมากกว่าพริกขี้หนูที่ปลูกบริเวณอื่น ทำให้ยิ่งเกิดความสนใจและให้ความสำคัญกับหญ้าแฝกมากขึ้น มีการดูแลรักษา  ซ่อมแซมและปลูกเพิ่มเติมมาโดยตลอด ในการขยายพันธุ์หญ้าแฝก จะไม่ขุดหญ้าแฝกออกทั้งกอ  แต่จะขุดแยกจากกอเดิม ทำให้ไม่ต้องปลูกหญ้าแฝกบ่อยครั้ง ในแต่ละปีสามารถขยายพันธุ์หญ้าแฝกได้ 400,000 กล้า

ด้วยเป็นผู้ที่มีใจรักในการทำการเกษตร ได้พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่มีอยู่  ทำการขุดสระน้ำ  เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการทำการเกษตร  มีการเลี้ยงสัตว์  โดยทำคอกหมู คอกไก่แบบสามารถโยกย้ายเคลื่อนที่ได้  รองพื้นคอกด้วยใบหญ้าแฝก  ทำให้ได้กองปุ๋ยหมักกระจายอยู่ในพื้นที่โดยทั่วถึง  ประหยัดเวลาและแรงงานได้เป็นอย่างดี  ได้พัฒนารูปแบบการปลูกและการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก  โดยนำมาปลูกผสมผสานกับพืชหลักทางเศรษฐกิจ  ร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆของกรมพัฒนาที่ดิน เช่น การใช้ปุ๋ยหมัก  น้ำหมักชีวภาพ  สารไล่แมลง  ทำให้สภาพดินมีความเหมาะสมกับการปลูกพืช  ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิต  เพิ่มรายได้  ลดรายจ่ายให้กับครอบครัว  มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ  นับเป็นบุคคลที่สมควรเป็นแบบอย่าง  เป็นผู้นำในการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ  ในบริเวณหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง 


รูปภาพอาชีพท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่น/ด้านการเกษตรผสมผสาน/เกษตรทฤษฎีใหม่  

ดาวน์โหลดเอกสาร

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand