แหล่งเรียนรู้ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
หมู่บ้านดินเผาด่านเกวียน อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามทางหลวง สาย 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ที่นี่เป็นหมู่บ้านทําเครื่องปั้นดินเผาหมู่บ้านหนึ่งของตําบลด่านเกวียน อําเภอโชคชัย จังหวัด นครราชสีมา เป็นสินค้า "โอทอป" (OTOP) หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทตุ๊กตาดินเผาหรือเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียง และมีความโดดเด่นทั้งด้วยตัวสินค้าที่มีความแข็งแกร่ง ทนทาน และมีความสวยความด้านเอกลักษณ์และรูปแบบงานปั้นที่มีความหลากหลาย และกําลังเป็นสินค้าที่นิยมของตลาด

แต่เดิมพื้นที่บริเวณด่านเกวียนนั้นเป็นเมืองหน้าด่านที่เรียกว่า “ด่านกระโทก” ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าทางบกระหว่างนครราชสีมากับชายแดนกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ํามูล ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมากคนท้องถิ่นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทําไร่ทํานา และค้าขายพืชผลทางการเกษตร และด้วยความที่ในสมัยก่อนมีพ่อค้าเกวียนจํานวนมากมาหยุดพักกองคาราวานในบริเวณนี้ ชุมชนดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า “ด่านเกวียน”
แต่ก่อนที่จะมีคนไทยอพยพเข้าไปตั้งรกรากบริเวณชุมชนด่านเกวียน พื้นที่ดังกล่าวเป็นถิ่นอาศัยของชาวข่า ซึ่งเป็นคนเชื้อสายมอญ ดังนั้นเมื่อมาอยู่รวมกันจึงเกิดการถ่ายทอดกรรมวิธีการทําเครื่องปั้นดินเผาขึ้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนด่านเกวียนมักจะใช้เวลาในช่วงที่ว่างจากการทําเกษตรกรรมมาผลิตเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ ไว้ใช้ในครัวเรือน อาทิ โอ่ง กระถาง ไห ครก รอฝนยา ฯลฯ รวมทั้งนําบางส่วนที่ผลิตได้ขนขึ้นเกวียนไปค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศกัมพูชา ด้วย


ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2485 จากนโยบายชาตินิยมของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้าง รายได้จากสินค้าท้องถิ่น อันมีส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ได้แพร่เข้ามาในชุมชน ด่านเกวียน จึงทําให้การผลิตมีวัตถุประสงค์เพื่อจําหน่ายมากยิ่งขึ้น จนชุมชนด่านเกวียนกลายเป็นแหล่งค้าเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงในวงกว้าง ปัจจุบันชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน สามารถผลิตสินค้า ได้หลากหลายประเภท อาทิ เครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน เครื่องใช้ทางการเกษตร ของตกแต่งบ้านและสวน รวมทั้งเครื่องประดับ โดยรูปแบบการผลิตยังคงเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของด่านเกวียนเอาไว้ อย่างชัดเจน ทั้งวัตถุดิบที่นํามาใช้ผลิต การปั้น การตกแต่งลวดลาย และการเผา ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี


ในปัจจุบันนี้หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีร้านค้าเรียงรายอยู่สองฟากฝั่งและมีลําน้ํามูลทอดขนานอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนนั้นอยู่ที่ดินที่นํามาใช้ กล่าวคือ ดินด่านเกวียนเป็นดินเหนียว เนื้อละเอียด ที่ขุดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ํามูล ในพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า กุด หรือแม่น้ําด้วน (ลักษณะลําน้ําที่คดเคี้ยว กัดเซาะตลิ่งจนขาด และเกิดลําน้ําด้วนขึ้น ส่วนที่เป็นแนวกัดเซาะจะกลายเป็นแหล่งทับถมดิน ดินดังกล่าวนี้เป็นดินซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ ง่ายต่อการขึ้นรูปทนทานต่อการเผา ไม่บิดเบี้ยวหรือแตกหักง่าย และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือดินนี้เมื่อถูกเผาจะให้สีโดยธรรมชาติเป็นสีแดง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากธาตุเหล็ก (Iron Oxide) เอกลักษณ์คือเมื่อนําไปเผาแร่เหล็กและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่เป็นส่วนผสมจะหลอมละลายเคลือบผิวภาชนะไปในตัว ทําให้ได้ชิ้นงานที่มีสีเป็นธรรมชาติออกสีดํามันหรือสีน้ําตาลแดง หรือสีเลือดปลาไหล ซึ่งเป็นสีที่ได้รับความนิยมว่าสวยที่สุด


หมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ต้นแบบ ในปี พ.ศ. 2547 เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เน้นให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคนในชุมชน และยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางให้ชุมชนเป็นต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวสินค้าควบคู่กับการให้บริการด้านต่าง ๆ ในชุมชนหมู่บ้านที่มีศักยภาพและการบริหารจัดการที่แข็งแรงมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ผ่านการคัดสรรตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จะได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการพัฒนาให้เป็นสถานที่ศึกษา และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ โดยหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้รับเกียรติให้เป็นหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบ (Knowledge Based Village Cluster) แห่งแรกในภาคอีสานและเป็นหนึ่งในสี่ของประเทศ จากผลการดำเนินการผ่านมาทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งคณะศึกษาดูงานจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เดินทางมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นจำนวนมาก




ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวนัฐรินทร์ โล่ห์นารายณ์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวนัฐรินทร์ โล่ห์นารายณ์
ข้อมูล TKP อ้างอิง https://sites.google.com/view/nattarin303/home
Post a Comment