TKP HEADLINE

เรื่อง เที่ยวบ้านเพื่อน เยือนวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาลาวครั่งตำบลกุดจอก

 เที่ยวบ้านเพื่อน เยือนวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรมภูมิปัญญาลาวครั่งตำบลกุดจอก


อีกความโดดเด่นของหนองมะโมงที่ควบคู่กับอำเภอใกล้เคียงอย่างเนินขาม เป็นศักยภาพ    ด้านการท่องเที่ยวที่มากับประเพณีและวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่งบ้านกุดจอก ชาวลาวที่เรียกตัวเองว่า “ลาวครั่ง” ได้มีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่มีหนองน้ำที่เต็มไปด้วยจอกแหน เป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 100 ปี และส่วนใหญ่มีอาชีพในการทอผ้าลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสามารถผลิตเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดชัยนาทได้อีกแห่งหนึ่ง มีความสำคัญในการสืบต่อและคงไว้       ซึ่งประเพณีเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาทั้งการถักการทอ และสานต่อเป็นอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม   ที่สร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชนได้มากมาย

           ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านกุดจอก มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น อาทิ ประเพณีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ภาษาถิ่น “ภาษาลาวครั่ง” ดนตรีพื้นเมือง ลำกลอนฟ้อนแคน อาหารท้องถิ่นภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำขนมจีนโบราณ ภูมปัญญาพื้นบ้านในด้านการรักษาด้วยสมุนไพร การนวดแผนโบราณ วิถีชีวิตการทำนาปลูกข้าวตามฤดูกาล  การผลิตข้าวซ้อมมือ

         การแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นบ้าน การทอผ้าลวดลายที่มีเอกลักษณ์คือ ผ้าขิด ผ้าจกและผ้ามัดหมี่ ทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม ผ้าทอที่ใช้ในพิธีทางศาสนา ผ้าคลุมหัวนาค ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าทอใช้ในชีวิตประจำวัน ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า หมอนน้อย หมอนเท้า ถุงขนมเส้น ฯลฯ

        มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ "ต้อนฮับสังขาร บุญสงกรานต์ปีใหม่ไท"  ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท มีศูนย์สาธิตวิถีชีวิตชุมชน ได้แก่ การทอผ้า การสีข้าวและการตำข้าวแบบโบราณการทำข้าวกล้อง การจักสานไม้ไผ่ และศูนย์แพทย์แผนไทย เป็นต้น


ตามประวัติเล่าถึงการพบองค์หลวงพ่อเดิมไว้ว่า เมื่อครั้งราว พ.ศ.2428 ตอนปลาย พระอาจารย์ศรีและพระอาจารย์สร ได้นำชาวบ้านหาไม้ในป่ามาสร้างวัดจนพบพระอุโบสถเก่าพัง ๆ ด้านในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งทำด้วยเนื้อศิลาแลงเศียรหักและเกตุมีการถูกตัด 1 องค์ เข้าใจว่าคงเป็นพระประธานมาแต่เดิมของโบสถ์เก่า และได้สร้างวัดขึ้นบริเวณนั้นโดยมีชื่อว่า “วัดกุดเข้” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดศรีสโมสร” ต่อมาบูรณะพระประธานโดยสร้างขึ้นใหม่ และซ่อมแซมพระประองค์เดิม สวมยึดเศียรให้แน่นแล้วย้ายออกมาโดยสร้างวิหารเล็กๆ ให้หนึ่งหลัง       (ในสมัยนั้น) โดยชาวบ้านกุดจอกขนานนามว่า”หลวงพ่อเดิม ศิลาแรง” (โดยมีความหมายว่า “เดิม” อยู่กับโบสถ์มาแต่เดิม “ศิลา”เนื้อหินแข็งหรือเรียกอีกอย่างว่าศิลาแลง “แรง” มีความเข็มแข็ง อย่างรุ่นแรง มายุคนี้เรียกสั้นๆว่า”หลวงพ่อเดิม”

ปัจจุบันหลวงพ่อเดิม ศิลาแรง ได้ประดิษฐานอยู่ ณ ในศาลาหลวงพ่อเดิม กลางลานบุญวัดศรีสโมสร โดยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจพุทธศาสนิกชนในเขตอำเภอหนองมะโมง และใกล้เคียง อีกมากมาย ยามมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ หรือจะต้องการบนบาน ขอพรสิ่งใด ก็จะมาจุดธูปอธิษฐานบนบานบอกกล่าว ขอพรก็จะได้สมดังใจปรารถนาเสมอ ส่วนใหญ่ก็จะบนบานจะแก้ด้วยรำวงแบบต่าง ๆ ตามคำบนบานนั้นๆ การบนด้วยรำวงจะได้ผลดีนักแล เพราะเคยมีหลายท่านเคยบนด้วยรำวง แล้วสำเร็จดังใจนึกทุกรายไป และหลายๆท่านก็เคยมีประสบการณ์พบสัมผัสกับความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ปลอดภัยแคล้วคลาดเพราะบารมีหลวงพ่อเดิม ศิลาแรงมาแล้วหลายท่านมากมาย

เครื่องบูชาสักการะหลวงพ่อเดิม ศิลาแรง มี ธูป 3 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม ดอกบัวหรือดอกไม้สีสันสีขาว 2 ดอก หมากพลู บุหรี่ โดยมีพระคาถาบูชาว่าดังนี้”โหตุ สัพพัง สุมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ ประสิทธิเม โสตถี เมตตา ลาภา นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ โหตุ หิรัญ ตะรัง” ทางวัดจะให้บริการให้ผู้ที่นับถือศรัทธาในองค์หลวงพ่อเดิม ได้มากราบสัการะหลวงพ่อเดิม ได้ทุกวันที่ศาลาหลวงพ่อเดิม วัดศรีสโมสร ทางวัดมีธูปเทียนทองไว้สำรองรอรับทุกท่านที่มากราบสักการะขอพรหลวงพ่อเดิม ศิลาแรง



พิธีซ้อนขวัญ พิธีสู่ขวัญ ลำกลอนฟ้อนแคน ของชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอกพิธีสู่ขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก ที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับขวัญการทำพิธี จึงเป็นการนำขวัญที่หายไปให้กลับมาอยู่กับตัวนอกจากนี้ยังเป็นพิธีที่ใช้ ในการต้อนรับแขกบ้าน โดยจะมีการทำบายศรี และนำสายสิญจน์ผูกข้อมือจากหน้าเรียวรูปไข่ เอวที่คอด นิ้วมือที่เรียว และชายสังฆาฏิที่เรียบ



       ผ้าทอพื้นถิ่นลาวครั่งตำบลกุดจอกกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง บ้านกุดจอก ชัยนาท  มีทั้ง ผ้าซิ่นมัดหมี่ตีนจก ซิ่นผ้าไหม ซิ่นผ้าฝ้าย ผ้าขาวม้า ย่ามแปรรูป ทอมือทั้งผืน มีคุณค่าทางจิตใจมาก ๆนางซ้อง  จบศรี เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากลาวครั่งและเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการทอผ้าลาวครั่งด้วยลวดลายต่างๆ มากมาย ปัจจุบันยังทอผ้าซิ่นยก จก และมัดหมี่ทำการถ่ายทอดวิธีการทอให้กับลูกหลานให้สืบต่อไป การทอผ้าของป้าซ้อง จบศรีเล่าว่าเดิมเส้นใยฝ้ายจะย้อมดีสีธรรมชาติ เช่น หัวขมิ้นชันหัวไพล แก่นขนุน รากยอป่ามะไฟ เปลือกล้มเสี้ยว ใบหูกวาง เปลือกสมอ ผลมะเกลือป่า ผลมะยมป่า ผลสมอพิเภก ลูกหว้า ต้นและใบคราม แต่ในปัจจุบันได้หันมาใช้สีวิทยาศาสตร์เนื่องจากการย้อมสีธรรม มีขั้นตอนเยอะและวัตถุดิบในการย้อมเริ่มหายากสินค้า : ผ้ามัดหมี่ตีนจก, ผ้าซิ่นไหม ผ้าซิ่นฝ้าย หูซิ่น หัวซิ่น ผ้าขาวม้า ย่ามแปรรูป

สนใจสินค้าสามารถติดต่อได้  สำเนา จบศรี  เบอร์ 089-969-4518



ประเพณีพื้นบ้านชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก

             ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอก ยังคงอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี ประเพณีสงกรานต์ หรือ ประเพณีเดือน 5ถือเป็นประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ ประเพณีแห่ดอกไม้ ประเพณีก่อพระทราย ประเพณีแห่ธงประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีเล่นผี ก่อนถึงวันสงกรานต์ ทุกคนจะต้องเตรียมทำความสะอาดบ้านเรือน ในอดีต    ต้องเตรียมหาบน้ำ ผ่าฟืนเก็บไว้ให้พอเพียงเพราะเมื่อสงกรานต์ลงจะเล่นสนุกสนานและทำบุญกันอย่างเดียว เรียกว่า “ถือ” วันสงกรานต์วันแรกในวันที่ 13 เมษายน บางเรือนจะต้อนรับนางสงกรานต์ด้วยการนำเอาขันธ์ 5 คือ กรวย หรือ ชวยใบตอง ใส่ดอกไม้ ธูป เทียน รวมทั้ง ผ้านุ่ง ผ้าสไบ หวี แป้ง กระจก ใส่ถาดวางไว้บนเรือนตรงหน้าต่างเพื่อให้นางสงกรานต์มารับสิ่งของนั้น

ตำแหน่งที่ตั้ง  ชุมชนบ้านกุดจอก หมู่ที่ 1 ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท  

แผนที่การเดินทาง   15°16'52.4"N 99°54'22.5"E                                                                                      

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว ผู้เขียน  นางสาวสิริภัสสรณ์  เปี่ยมทอง บรรณารักษ์อัตราจ้าง                              

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย    นางสาวสิริภัสสรณ์  เปี่ยมทอง บรรณารักษ์อัตราจ้างข้อมูลTKPอ้างอิงhttps://sites.google.com/d/1fE9SItLoMs0V83ODKxZ9763uCmCPZe8Z/p/

10HfFJhWRuMkVMqJGsReGGXLejXqAwiO5/edit

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand