วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 307 หมู่ 9 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน มีตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพระนางจามเทวีผู้ครองนครหริภุญชัย ได้เสด็จทางเรือตามลำน้ำปิง เพื่อมาสำรวจพื้นที่อาณาเขตการปกครอง ครั้นมาถึงบริเวณชุมชนวังสะแกง มีคุ้งน้ำวนขนาดใหญ่ น้ำไหลเชี่ยวแรง เรือโคลงเคลง ทำให้ปาน (ฆ้อง) เชือกขาดตกน้ำบริเวณคุ้งน้ำวนดังกล่าว พระองค์จึงให้ทหารและชาวบ้านที่ดำน้ำเก่งลงไปหา แต่ก็ไม่พบเพราะบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นโขดหิน ลึก พระนางจึงเชื่อในญาณว่า เป็นบริเวณพื้นที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีพญานาคดูแล จึงรับสั่งให้มีการสร้างวัดไว้
เมื่อ พ.ศ. 2436 มีการค้นพบวัดแห่งนี้มีการบูรณะและตั้งชื่อวัดว่า “วัดน้อยวังปาน” มีพระจันโต กาวิชโย หรือครูบากาวิชัย มาจำพรรษาและพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ต่อมาครูบาคำมูล วัดต้นผึ้ง ได้ส่งพระประยูรมาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้และมีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดน้อยวังสะแกง” แต่ด้วยที่ตั้งของวัดอยู่ห่างไกลชุมชน ไม่มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทำให้ญาติธรรมไม่สะดวกมาทำบุญ เมื่อพระประยูรมรณภาพลง จึงไม่มีพระมาจำพรรษา จนกลายเป็นวัดร้างนับเป็นเวลาได้ 50 กว่าปี
เมื่อ พ.ศ. 2555 คุณพรทิพย์ ณ บางช้าง ภรรยา พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง ได้มีโอกาสมาที่วัดร้างแห่งนี้ ได้พบกำแพงโบสถ์โบราณเพียงด้านเดียวและเจดีย์เก่าอีกหนึ่งองค์ จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานที่ซากโบสถ์โบราณว่า “ถ้าหากจะมีโอกาสบูรณะวัดแห่งนี้ร่วมกับพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาต่อไป ขอให้ได้นำพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง มาที่นี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2554 พลเรือเอกอมรเทพ ณ บางช้าง ได้ปฏิบัติธรรมและเคยมีนิมิตให้สร้างวัดใหม่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมคล้ายกับที่วัดร้างแห่งนี้” จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 พลเรือเอกอมรเทพ ณ บางช้าง ประธานโครงการบูรณะวัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ ได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดร้างนี้เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จนเกิดพลังบันดาลใจอย่างแรงกล้าที่จะบูรณะวัดร้างแห่งนี้ให้เป็นวัดใหม่ตามที่ได้เคยนิมิตเห็น จึงได้รวบรวมศรัทธาบุญทำการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยก่อสร้างอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ขึ้นใหม่ทั้งหมด จากที่ดินธรณีสงฆ์เดิมของวัดซึ่งเป็นที่รกร้าง 11 ไร่ 2 งาน 07 ตารางวา เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นศูนย์กลางสำคัญของการปฏิบัติธรรมตามพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 10.39 น. ได้มีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเขียงใหม่ ได้เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง และคุณพรทิพย์ ณ บางช้าง ภรรยา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.09 น. ซึ่งเป็นวันมงคลตามตำรา พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การบูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อยวังสะแกง
ต่อมาได้ดำเนินการขอยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยความเห็นชอบของเถรสมาคม ได้ออกประกาศยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 มีพระใบฎีกาพิษณุ สุธมฺมธโร เป็นรักษาการเจ้าอาวาส จากนั้นพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง ได้มีการรวบรวมผู้มีศรัทธาบุญร่วมกันซื้อที่ดินรอบวัดเพื่อถวายวัดจากธนาคารกรุงไทยจำกัด จำนวน 29 ไร่เศษ ทำให้ปัจจุบันวัดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 40 ไร่เศษ
เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 10.39 น. ได้มีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเขียงใหม่ ได้เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง และคุณพรทิพย์ ณ บางช้าง ภรรยา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.09 น. ซึ่งเป็นวันมงคลตามตำรา พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การบูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อยวังสะแกง
ต่อมาได้ดำเนินการขอยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยความเห็นชอบของเถรสมาคม ได้ออกประกาศยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 มีพระใบฎีกาพิษณุ สุธมฺมธโร เป็นรักษาการเจ้าอาวาส จากนั้นพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง ได้มีการรวบรวมผู้มีศรัทธาบุญร่วมกันซื้อที่ดินรอบวัดเพื่อถวายวัดจากธนาคารกรุงไทยจำกัด จำนวน 29 ไร่เศษ ทำให้ปัจจุบันวัดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 40 ไร่เศษ
เนื่องจาก วัดน้อยวังสะแกง มีชื่อคล้ายกับวัดวังสะแกง (ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านวังสะแกง ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน) ที่มีพื้นที่หมู่บ้านใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดความสับสน จึงดำเนินการขอเปลี่ยนชื่อวัด โดยความเห็นชอบของเถรสมาคม ก็ได้ออกประกาศเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์” เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560
ปัจจุบันวัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์มี พระอธิการสิขร จิตฺตสํวโร (เจ้าอาวาสวัดปทุมสราราม) ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษานับตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาไหว้พระทำบุญ ปฏิบัติธรรม สักการะรูปเหมือนพระแม่เจ้าจามเทวี และอนุสาวรีย์มหาราชเก้าพระองค์ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ล้านนาอีกด้วย
พระบรมราชโองการของพระแม่เจ้าจามเทวี ในการสร้างวัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ตามนิมิตที่เกิดกับพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง 1. วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมที่สำคัญของหริภุญชัยและภาคเหนือ เพื่อประโยชน์ของพุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาทั้งปวง โดยต้องสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างและให้ใช้ปัจจัยจากศรัทธาเท่านั้น 2. หลังจากพิธีสมโภชวัดแล้ว ในเขตพุทธาวาสห้ามมิให้มีการสร้างถาวรวัตถุใด ๆ เพิ่มเติมอีก การทำนุบำรุงอาคารต่าง ๆ มิให้มีการดัดแปลง ต่อเติม หรือการตกแต่งที่ผิดไปจากรูปแบบเดิม รวมถึงมิให้มีการจัดทำค้าวัตถุมงคลภายในวัด
พระบรมราชโองการของพระแม่เจ้าจามเทวี ในการสร้างวัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ตามนิมิตที่เกิดกับพลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง 1. วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมที่สำคัญของหริภุญชัยและภาคเหนือ เพื่อประโยชน์ของพุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาทั้งปวง โดยต้องสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างและให้ใช้ปัจจัยจากศรัทธาเท่านั้น 2. หลังจากพิธีสมโภชวัดแล้ว ในเขตพุทธาวาสห้ามมิให้มีการสร้างถาวรวัตถุใด ๆ เพิ่มเติมอีก การทำนุบำรุงอาคารต่าง ๆ มิให้มีการดัดแปลง ต่อเติม หรือการตกแต่งที่ผิดไปจากรูปแบบเดิม รวมถึงมิให้มีการจัดทำค้าวัตถุมงคลภายในวัด
ความสำคัญและความอัศจรรย์ของวัดแห่งนี้
ได้ฟังเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่บ้าน คนเฒ่าคนแก่ และผู้รู้ว่า มีเหตุอัศจรรย์บ่อยครั้ง เช่น ผู้ทรงศีลหรือพระธุดงค์มาปฏิบัติธรรมเป็นประจำในวันพระหรือวับสำคัญทางพุทธศาสนา ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงจะมองเห็นดวงไฟสีเขียว สีทอง สุกสว่างบริเวณวัดนี้หลายครั้ง จึงเชื่อกันว่าน่าจะมีพญานาครักษาวัดแห่งนี้ อีกทั้งเมื่อมีชาวบ้านมาหาปลาหรือล่าสัตว์ ก็มักเจองูใหญ่และจับปลาไม่ได้เลย
แผนที่การเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนทางประวัติศาสตร์อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
Post a Comment