TKP HEADLINE

เขื่อนวชิราลงกรณ

เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า "เขื่อนเขาแหลม" เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อยเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ เป็นโครงการเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งทางตรงและทางอ้อม



เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดาดผิวหน้า ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นแม่น้ำแควน้อย ในท้องที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอทองผาภูมิไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี 153 กิโลเมตร มีความสูงจากฐาน 92 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ความยาวสันเขื่อน 1,019 เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) +161.75 เมตร
ปริมาตรตัวเขื่อน ประมาณ 8.1 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี ของจังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่รับน้ำฝน 3,720 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหล เข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาตร เก็บกักสูงสุด ปกติ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ +155.0 เมตร (รทก.) โรงไฟฟ้าเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 100,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง/ปี 

การก่อสร้างเริ่มในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ  ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเขาแหลม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2529 ได้รับพระราชทานชื่อใหม่แทนชื่อเขื่อนเขาแหลมจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ว่า “เขื่อนวชิราลงกรณ”

เขื่อนวชิราลงกรณแห่งนี้ นับเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ขนาดใหญ่ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย
รองจากเขื่อนภูมิพล  เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนสิริกิติ์ 


เขื่อนวชิราลงกรณ เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตและเขื่อนเอนกประสงค์
ในโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และบริเวณเหนือเขื่อน มีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับ
การล่องเรือชมทิวทัศน์ สภาพธรรมชาติของอ่างเก็บน้ำ และสามารถชมสวนมะพร้าวกะทิ
บนเกาะกลางน้ำ ซึ่งต้องนั่งเรือจากเขื่อนไป  1 ชั่วโมง

เขื่อนวชิราลงกรณนอกเหนือจากสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังได้เอื้ออำนวยประโยชน์
ในด้านอื่น ๆ อีก ดังนี้

    1. ด้านการอุปโภคบริโภค
    2. ช่วยผลักดันน้ำเค็มและไล่น้ำเสีย
    3. ด้านการชลประทานและการเกษตร
    4. ด้านการประมง
    5. ด้านการบรรเทาอุทกภัย
    6. ด้านการคมนาคมและการท่องเที่ยว
    7. ด้านการผลิตไฟฟ้า

โดยปกติ น้ำในฤดูฝน ทั้งในลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่ จะมีปริมาณมากเมื่อไหลมารวมกันจะทำให้เกิดน้ำท่วม ลุ่มน้ำแม่กลอง เป็นประจำหลังจากได้ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณแล้วเสร็จ อ่างเก็บน้ำของเขื่อนทั้งสองจะช่วยเก็บกักน้ำไว้เป็นการบรรเทาอุทกภัย ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างถาวร 















Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand