TKP HEADLINE

วัดโนนสูงทุ่งสว่าง

 

ประวัติหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ บนเนินดินสูงเมืองเก่าบ้านทุ่งวังในอดีตที่เรียกว่า “เมืองโตงเนียง” มีการค้นพบพระพุทธรูปสูงใหญ่ปางมารวิชัย สมัยขอมเรืองอำนาจ ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ทำด้วยหินทรายสีคล้ายดินลูกรังแดงอมส้ม หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 2.10 เมตร นั่งประทับบนหินทรายที่นำมาเรียงกันเป็นแท่นหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังองค์พระพุทธรูปพิงกับต้นมะค่าแต้ ซึ่งเคยเกิดไฟไหม้แต่องค์พระพุทธรูปมิได้รับความเสียหายแต่ประการใด จึงที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไปตั้งชื่อตามลักษณะที่พบพระพุทธรูปว่า “หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ”

    หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอเป็นโบราณวัตถุอันเป็นที่เคารพ สักการะคู่บ้านทุ่งวังมาตั้งแต่อดีต สันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ. 2433 ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างที่บังแดดบังฝนขึ้นครอบองค์พระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอเป็นครั้งแรก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพระพุทธรูปมิได้เคลื่อนย้ายไปที่แห่งใดเลยแม้ว่าจะมีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ตามแปลนกรมศิลปากร(หลักฐานสมุดบันทึกของอธิการพุฒกิตติปัญโญเจ้าอาวาสวัดโนนสูงทุ่งสว่าง)หลวงพ่อใหญ่ดงแสนเป็นพระพุทธรูปรุ่นเดียวกับพระพุทธรูปบ้านวังปลัด อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอสตึก หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์จะต้องหาโอกาสมานมัสการทุกครั้งเมื่อได้เข้ารับดำรงตำแหน่ง

ปฏิหาริย์หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ

        ปัจจุบันผู้ที่สักการะเคารพบูชาเหรียญของหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ  รุ่นที่ 1  (สร้างเมื่อ พ.ศ.  2515)  เชื่อว่าสามารถคุ้มครองอุบัติเหตุทางบกหรือบุคคลใดที่เข้าไปถ่ายรูปหลวงพ่อใหญ่แสนตอภายในโบสถ์  หากไม่ได้จุดธูปเทียนบอกกล่าวให้ท่านทราบก่อนมักจะถ่ายรูปองค์พระพุทธรูปไม่ติดฟิล์มจะมีสีดำมัว ๆ

            ปัจจุบันมีการจัดงานนมัสการหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ   ในเดือนเมษายน ทุก ๆ ปี ระหว่างวันที่  13-15 เมษายน เพื่อรักษาประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น อันดีงามและให้งานนมัสการหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอให้คงอยู่สืบไป  ทั้งนี้เพื่อประชาชนในหมู่บ้านของตำบลทุ่งวังและชุมชนใกล้เคียง ได้ร่วมกิจกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมต่าง ๆ       

          ท่ามกลางตอไม้นับแสน ๆ  ตอมีการค้นพบพระพุทธรูปสูงใหญ่ปางมารวิชัย  สมัยขอมเรืองอำนาจ ราวพุทธศตวรรษที่ 17ทำด้วยหินทรายสีคล้ายดินลูกรังแดงอมส้ม  หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 2.10 เมตร นั่งประทับบนหินทรายที่นำมาเรียงกันเป็นแท่นหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ด้านหลังองค์พระพุทธรูปพิงกับต้นมะค่าแต้ซึ่งเคยเกิดไฟไหม้แต่องค์พระพุทธรูปมิได้รับความเสียหายแต่ประการใด จึงที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไปตั้งชื่อตามลักษณะที่พบพระพุทธรูปว่า “  หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ ”  

          หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอเป็นโบราณวัตถุอันเป็นที่เคารพ   สักการะคู่บ้านทุ่งวังมาตั้งแต่อดีต  สันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ.  2433  ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างที่บังแดดบังฝนขึ้นครอบองค์พระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอเป็นครั้งแรก  ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพระพุทธรูปมิได้เคลื่อนย้ายไปที่แห่งใดเลยแม้ว่าจะมีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ตามแปลนกรมศิลปากร ( หลักฐานสมุดบันทึกของอธิการพุฒกิตติปัญโญ  เจ้าอาวาสวัดโนนสูงทุ่งสว่าง)  ทางเข้าวัดโนนสูงทุ่งสว่าง หลวงพ่อใหญ่ตั้งอยู่บนเนินดินสูง ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปไหน

           หลวงพ่อใหญ่ดงแสนเป็นพระพุทธรูปรุ่นเดียวกับพระพุทธรูปบ้านวังปลัด อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์  ท่านใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอสตึก หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  จะต้องหาโอกาสมานมัสการทุกครั้งเมื่อได้เข้ารับดำรงตำแหน่ง

ปาฏิหาริย์หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ

           ปัจจุบันผู้ที่สักการะเคารพบูชาเหรียญของหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ  รุ่นที่ 1  (สร้างเมื่อ พ.ศ.  2515)  เชื่อว่าสามารถคุ้มครองอุบัติเหตุทางบกหรือบุคคลใดที่เข้าไปถ่ายรูปหลวงพ่อใหญ่แสนตอภายในโบสถ์  หากไม่ได้จุดธูปเทียนบอกกล่าวให้ท่านทราบก่อนมักจะถ่ายรูปองค์พระพุทธรูปไม่ติดฟิล์มจะมีสีดำมัว ๆ ปัจจุบันมีการจัดงานฉลองสมโภชน์ในเดือนเมษายน ทุก ๆ ปี

            ชุมชนบ้านทุ่งวัง สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ต่อมากลายเป็นชุมชนร้าง อาจจะด้วยสาเหตุจากภัยธรรมชาติ หรือสงคราม ประชาชนจึงกระจัดกระจายไปตั้งชุมชนเล็ก ๆ ตามป่า หรือชายแดน เรียกว่า "เขมรป่าดง"  มีการพบพระพุทธรูป และแผ่นหิน ที่เป็นใบเสมา จากการสัมภาษณ์ นายอ่อน บูรณขจร กำนันตำบลทุ่งวัง คนแรก คำว่า บ้านทุ่งวัง แต่ก่อนเรียกว่า “บ้านโตงเนียง” แปลว่า “ชิงช้าของหญิง” ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5  ได้มีกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองท่าตูมและเมืองจอมพระ    โดยมีผู้นำกลุ่ม 3 คน ประกอบด้วย ขุนชนะ  ขุนประทะแดง และขุนทึง นำครอบครัวมาตั้งหลักแหล่งบริเวณโนนดินสูงบ้านทุ่งวัง ทำให้กลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.2481  ได้ยกฐานะเป็นตำบลทุ่งวัง ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอสตึก (อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์)

ทำเลที่ตั้งของบ้านทุ่งวัง  

            ในอดีตเป็นที่หลบซ่อนของนักโทษหนีการเกณฑ์ทหาร โจรปล้นจี้ การดำรงชีวิตของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษา  อ่านหนังสือไม่ออก จะอยู่แบบหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เกรงว่าจะมีบุคคลอื่นมาปล้นจี้ ทรัพย์สินมีค่าของตน หรือทางราชการจะเข้ามาจับกุมไปลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง เลี้ยงชีพด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร มีอาชีพรับจ้างเลื่อยไม้ และเจาะต้นยางโดยการเผาเพื่อนำน้ำยางมาทำเป็นขี้ไตเชื้อเพลิง  ที่ให้ความร้อนและแสงสว่างขาย จึงต้องอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ นั่นคือที่มาของชุมชนโบราณบนเนินสูงทางทิศตะวันออกชื่อว่าบ้านทุ่งวัง ซึ่งมีความหมายดังนี้ "ทุ่ง"  หมายถึงพื้นที่ราบ "วัง" หมายถึง แหล่งน้ำ "ทุ่งวัง" หมายถึง พื้นที่ราบที่ล้อมรอบด้วยแหล่งน้ำ เพื่อใช้เป็นปราการป้องกันข้าศึกศัตรูของหมู่บ้านหนองเกาะน้อยได้เป็นอย่างดี  รอบ ๆ คูน้ำเต็มไปด้วยป่าไม้ไผ่ขึ้นอย่างหนาทึบ  ใช้เป็นสถานที่เลี้ยงช้าง  และสำหรับหลบซ่อนตีมีด  ตีดาบเพื่อใช้เป็นอาวุธป้องกันตนเองและศัตรู   ยังปรากฏร่องรอยเศษตะกรันเหล็กที่เกิดจากการเทเตาหลอมปะปนกับชั้นดินอยู่ทั่วไป  การสัญจรระหว่างหมู่บ้านหนองเกาะน้อยกับหมู่บ้านข้างเคียงใช้เกวียนเทียมด้วยควายเป็นพาหนะ   

เนินดินสูงบริเวณรอบบ้านทุ่งวังมี  7  เนิน  ซึ่งประกอบด้วย

            1)  เนินดินสูงโรงเรียนบ้านทุ่งวังเก่า   (ปัจจุบันถูกปรับพื้นที่ให้เป็นที่ราบใช้เป็นที่ตั้งสถานีตำรวจชุมชนตำบลทุ่งวัง  และสถานที่จ่ายน้ำประปาหมู่บ้านทุ่งวัง)

            2)  เนินดินโคกสูง  (คุ้มโคกยูง)  อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านทุ่งวังติดกับป่าช้าเก

            3)  เนินดินสูงที่ตั้งวัดโนนสูงทุ่งสว่าง

            4)  เนินดินสูงทิศตะวันตก  เส้นทางไปหมู่ที่  8  บ้านสมหวัง

            5)  เนินดินสูงคุ้มอนามัย  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีอนามัยตำบลทุ่งวัง  หมู่ที่  15  บ้านตุงเวียง

            6)  เนินดินสูงโคกกลาง  อยู่ตอนกลางของหมู่บ้านทุ่งวัง  ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ หมู่ที่  3  บ้านคุ้มต่ำ

            7)  เนินดินสูงบ้านหนองเกาะน้อย

ปัจจุบันเมืองเก่าบ้านทุ่งวัง แบ่งการปกครองออกเป็น  4 หมู่บ้านดังนี้

            1.  บ้านทุ่งวัง หมู่ที่  1

            2.  บ้านคุ้มบ้านต่ำ หมู่ที่  3

            3.  บ้านหนองเกาะน้อยหมูที่  12

            4.  บ้านตุงเวียง หมู่ที่  15 



ผู้เขียน :  ดร.สุวัฒน์  อุ่นทานนท์  (ปร.ด.) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค  
สามารถนำไปเผยแพร่และใช้ในการอ้างอิงได้

ข้อมูลทางบรรณานุกรม :  สุวัฒน์  อุ่นทานนท์.  (2563).  หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ นิเวศวิทยาศาสนาลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง.  [ออนไลน์] : เข้าถึงได้จาก : http://www.brm4.go.th/sysinfo_br4/mresource_br4/28-resourcebr4_003.html/.  สืบค้น (......).

แหล่งข้อมูล : 
        รัชนี คล่องแคล่ว.  (2543).   ปริศนาคำทายชาวไทยเขมรบ้านทุ่งวัง ตำบลทุ่งวัง อ่าเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
        วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาภาษาไทย  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
        วิมล  แต้มสคราม. (2545).  ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านทุ่งวัง ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.  บุรีรัมย์ :  เอกสารประกอบผลงานทางวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ 3 โรงเรียนบ้านทุ่งวัง ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
        สุวัฒน์  อุ่นทานนท์ (2553). ภูมิปัญญาช้างบ้านในนิเวศวิทยาวัฒนธรรมพนมดงรัก-เซเปียน. สุรินทร์ :          วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (การศึกษาและจัดการภูมิปัญญา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ภาพประกอบ :  ดร.สุวัฒน์  อุ่นทานนท์

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand