TKP HEADLINE

หลักสูตรเพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย


             สถาบันการศึกษาทางไกล สำนักงาน กศน. ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านปฐมวัย พัฒนาหลักสูตรเพลงและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ในปี พ.ศ.2550 สำหรับจัดการเรียนการสอนทางไกล เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับบุคลากรผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถใช้เพลงและกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง และได้ยุติการจัดการเรียนการสอนไปในปี พ.ศ.2554 แต่พิจารณาว่าหลักสูตรและสื่อที่พัฒนาไว้ยังคงมีประโยชน์กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย จึงได้นำขึ้นช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ตามอัธยาศัย 

ศึกษาเพิ่มเติม CLICK!

หลักสูตรการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

 

        สถาบันการศึกษาทางไกล สำนักงาน กศน. ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านปฐมวัย พัฒนาหลักสูตรการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย ในปี พ.ศ.2550 สำหรับจัดการเรียนการสอนทางไกล เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับบุคลากรผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถใช้กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางสมองให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง และได้ยุติการจัดการเรียนการสอนไปในปี พ.ศ.2554 แต่พิจารณาว่าหลักสูตรและสื่อที่พัฒนาไว้ยังคงมีประโยชน์กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย จึงได้นำขึ้นช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ตามอัธยาศัย

ศึกษาเพิ่มเติม CLICK!

ขนมปั้นขลิบ

     

"ขนมปั้นขลิบ"  หรือ "ขนมปั้นสิบ"


  จากเมนูกะหรี่ปั๊บที่คุ้นเคย กัดคำหนึ่งก็หกเลอะเทอะ แถมมีขั้นตอนการทำแป้งยุ่งยาก ลองเปลี่ยนไอเดียมาทำขนมปั้นขลิบหรือขนมปั้นสิบ ชิ้นพอดีคำ ทำง่ายกว่าเยอะ กระปุกดอทคอมขอนำเสนอ 6 เมนูปั้นขลิบ ได้แก่ ปั้นขนมดีนั่นก็คือ  "ขนมปั้นขลิบ"  หรือ "ขนมปั้นสิบ"  ที่เหมือนกะหรี่ปั๊บตัวเล็ก ๆ แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ขนมชิ้นเล็ก ๆ นี้ ทำไมบางคนถึงเรียกกันว่า ปั้นขลิบ  แต่บางคนก็กลับเรียกว่า ปั้นสิบ แท้จริงแล้ว ขนมชนิดนี้เขาเรียกว่าอะไรกันแน่? 

    ปั้นสิบ หรือ ปั้นขลิบ เป็นอาหารว่างไทยชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รูปร่างคล้าย กะหรี่ปั๊บแต่ต่างกันที่ตัวเล็กกว่า และไม่มีลวดลายเป็นชั้น ๆ ไส้ที่นิยมมีอยู่ 2 ไส้ คือ ไส้หมู และไส้ปลา มีขนาดพอดีคำ แป้งจะกรอบแข็งมากกว่ากะหรี่ปั๊บ นิยมกินคู่กับน้ำชาหรือชาสมุนไพร 


สูตร ขนมปั้นสิบ หยิบกินสะดวกชิ้นพอดีคำ

ส่วนผสม

น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

รากผักชีซอย 2 ช้อนโต๊ะ

เนื้อปลากะพงบด 500 กรัม

น้ำเปล่า 1 1/2 ถ้วย

น้ำตาลทราย 1 1/2 ช้อนโต๊ะ

เกลือ 1/2 ช้อนชา

หอมเจียว 200 กรัม

ถั่วลิสงคั่วป่น 100 กรัม

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 250 กรัม

น้ำ 100 กรัม

น้ำมันพืช 100 กรัม


วิธีทำ

2.ตั้งกระทะใส่น้ำพืชเล็กน้อย ใส่รากผักชีซอยลงไปผัดให้หอม แล้วตามด้วยเนื้อปลากะพงบด ผัดจนเนื้อปลาสุก

2.ใส่น้ำเปล่า น้ำตาลทราย เกลือ และ หอมเจียว ผัดให้เข้ากัน จากนั้นก็ใส่ถั่วลิสงคั่วป่นเป็นลำดับสุดท้าย ผัดจนตัวขนมเหนียว จับตัวกันเป็นก้อน เสร็จแล้วก็ตักใส่จานแล้ววางพักไว้

3.นำแป้งสาลีมานวดกับน้ำเปล่าและน้ำมันพืช นวดให้เข้ากันแล้วห่อแป้งด้วยแรปห่ออาหาร วางทิ้งไว้ 30 นาที

4.เมื่อครบเวลาแล้ว หยิบแป้งขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว ปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วนำมาคลึงให้แบน

5.วางขนมไว้ตรงกลางแล้วนำแป้งมาประกบกัน เสร็จก็จับจีบใส่สวยงาม

6.ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้ท่วม รอน้ำมันร้อนแล้วก็นำขนมลงไปทอดให้เหลืองกรอบ

7.นำขึ้นมาสะเด็ดน้ำมันแล้วจัดเรียงใส่จานหรือให้ห่อน่ารักๆ เอาไปวางขายก็ได้นะคะ



อาชีพท้องถิ่น

 อาชีพท้องถิ่น


 ประวัติความเป็นมาของข้าวหลามมีรายละเอียดไม่มากนักเพราะการทำข้าวหลามมีมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีคนบอกว่าการทำข้าวหลามนั้นทำมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ที่คิดดัดแปลงมาโดยนำข้าวเหนียวกับถั่วดำมาปนคลุกเคล้ากันแล้วใส่กระบอกแต่บางคนบอกว่าทำด้วยข้าวเหนียวแดงใส่ถุงแล้วหาบขายต่อมานิยมทำกันมาเรื่อยๆจนกลายเป็นข้าวหลามใส่กระบอกไม้ไผ่สมัยก่อนมีไม้ไผ่มากพอในการทำข้าวหลาม แต่ในปัจจุบันมีการผลิตข้าวหลามขายกันถ้วนหน้าจนมีชื่อเสียงแพร่หลายและนิยมทำกันมากในชุมชนจนยึดเป็นอาชีพกระบอกไม้ไผ่จึงหายากต้องสั่งมาจากจันทบุรีเป็นคันรถ

ข้าวหลาม เป็นอาหารที่คนไทยรู้จักมาเป็นเวลาช้านาน มีกลิ่นหอม รสหวาน มันอร่อย ใช้รับประทานเป็นอาหารว่างและของฝากญาติมิตร มีขายกันทั่วทุกภาคทุกจังหวัดแต่ละพื้นที่อาจมีเอกลักษณ์ของการผลิตที่แตกต่างกัน ข้าวหลามที่เป็นที่รู้จักของคนไทย เช่น ข้าวหลามนครปฐม จังหวัดนครปฐม และข้าวหลามหนองมน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

ข้าวเหนียวขาวเป็นอาหารหลักอีกประการหนึ่งของชาวอีสานซึ่งรับประทานกันเป็นประจำเหมือนกับการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักประจำใน ภูมิภาคอื่นๆ ประชาชนชาวอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียวกับปลาร้า ปลาเจ่า และผักสด ผักดองเป็นประจำจนเป็นอาหารหลัก แต่ยังสามารถนำมาเป็นอาหารว่างได้อีกด้วย เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน เป็นต้น

ข้าวเหนียวดำมีผู้นิยมรับประทานกันมากเช่นเดียวกับข้าวเหนียวขาวอย่างเช่นข้าวเหนียวดำกับเผือกก็อร่อยไม่ใช่เล่นข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนียวดำสามารถนำมาเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งคือ ข้าวหลาม ในตอนนี้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดต้องยกให้ " ข้าวหลามหนองมน " ที่มีการทำกันเป็นจำนวนมากและยังอร่อยอีกด้วย

คำว่า“หลาม” หมายถึง การนำอาหารหรือของทุกอย่างใส่กระบอกแล้วนำไปเผาไฟ เช่น ปลาหลาม ยาหลาม (ยา หมายถึง สมุนไพรที่ใช้เผาในกระบอกเพื่อให้สุก) ด้วยเหตุนี้เมื่อนำข้าวเหนียวใส่ในกระบอกนำไปเผาไฟจึงเรียกว่า “ข้าวหลาม”ในภาคเหนือและภาคอีสานออกเสียงเป็น “เข้าหลาม”บางถิ่นทางภาคใต้เรียก “หลามเหนียว”เพราะเป็นการหลามด้วยข้าวเหนียว

ข้าวหลาม นับเป็นสินค้าขึ้นชื่อชนิดที่ติดอันดับ 1 มีผู้นิยมรับประทานมาก และมีผู้ขายมากที่สุด และรองลงมาก็คืออาหารทะเล สินค้าแปรรูป เช่น เครื่องจักสานส่วนสินค้าทะเลที่มีขาย เช่น ปลาหมึกตากแห้ง กุ้งแห้ง และห่อหมก ข้าวหลามหนองมนนั้นมีรสชาติหอม หวาน เค็ม มัน ที่บรรจงกรอกอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ข้ามหลามแต่ละกระบอกต้องพิถีพิถันกันมาก และต้องบรรจงกรอกอย่างปราณีตเพื่อจะให้ข้าวเหนียว ถั่วดำกลมกลืนอย่างมีรสชาติที่เข้มข้นและการทำข้าวหลามยังมีวิธีที่น่าสนใจอีกมาก

ส่วนประกอบของ ข้าวหลาม 

1. ข้าวเหนียว 10 ถ้วยตวง

2. กะทิ 4 ถ้วยตวง

3. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ

4. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง

5. ถั่วดำ 1/2 ถ้วยตวง

6. กระบอกไม้ไผ่

7. กาบมะพร้าวทุบ ห่อด้วยใบตองแห้งหรือสด (ทำจุกอุดปากกระบอก)

วิธีทำข้าวหลาม

- เตรียมกระบอกไม้ไผ่

- แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที

- รินนำออกจากข้าวเหนียวให้หมดแล้วใส่กะทิลงไป ใส่นำตาล เกลือ คนให้เข้ากัน ขิมรสว่า

หวาน เค็มตามต้องการ

  - นำข้าวเหนียวกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ให้เต็มอย่าให้ล้นกะให้เหลือส่วนปลายที่จะใช้ใบตองปิดทำเป็นฝาได้

         - นำกระบอกข้าวหลามไปเผ่าไฟ  ประมาณ 30-40 นาที ต้องพลิกกลับกระบอกข้าวหลามให้ถูกไฟอย่างส่ำเสมอ

ประโยชน์ข้าวหลาม

 ข้าวหลามมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น สามารถผลิตเพื่อทำเป็นรายได้ และยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้  ไม่ใช้แค่การผลิตเพื่อจำหน่ายแต่เราสามารถผลิตขึ้นเพื่อรับประทานได้หรือนำไปฝากคนที่เรารักได้เช่นเดียว ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ หรือใครต่างๆได้และเราจะภูมิใจที่เราสามารถทำข้าวหลามที่สามารถรับประทานได้ ด้วยตนเอง และข้ามหลามยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย

 หนองมน เป็นชื่อเรียกสถานที่หนึ่งในตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรีประมาณ 11-12 กิโลเมตร ตลาดหนองมน หรือตลาดแสนสุขนับเป็นแหล่งการค้าที่เจริญมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี ทั้งสองฝั่งเต็มไปด้วยผู้คนที่เดินกันเต็มไปทั้งตลาดที่มาจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อของฝากไปให้ญาติพี่น้อง จนพูดกันว่ามาถึงตลาดหนองมนไม่ซื้อข้าวหลามหนองมนติดมือกลับไปเท่ากับว่ายังมาไม่ถึงหนองมน

 ข้าวหลามหนองมน เป็นที่นิยมของคนไทยและชาวต่างชาติ มีชื่อเสียงไม่แพ้ของท้องถิ่นในจังหวัดอื่น ๆ เพราะข้าวหลามหนองมน มีการดัดแปลงโดยการสอดไส้มากมาย เช่น ไส้กล้วย ไส้เผือก ไส้มะพร้าวอ่อน เป็นที่นิยมของพื้นบ้านมีวางขายหลายร้านจนมีชื่อเสียง

การทำข้าวหลามเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการทำในทุกภูมิภาค มีกรรมวิธีหลักๆคล้ายคลึงกัน อาจแตกต่างกันบ้างในส่วนปลีกย่อยและเตาเผาที่ใช้ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการทำข้าวหลามในจังหวัดชลบุรี

หากพูดถึงข้าวหลามแน่นอนครับว่าเราต้องนึกถึงข้าวหลามหนองมนก็เพราะว่าที่หนองมนเนี่ยแหละเป็นชุมชนดั้งเดิมในการเผาข้าวหลามมาตั้งแต่โบราณจนทุกวันนี้ข้าวหลามกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำย่านตลาดหนองมนไปแล้ว เมื่อเราเดินทางไปถึงตลาดหนองมน เราจะสังเกตเห็นร้านขายข้าวหลามเยอะแยะมากมาย ถึงขนาดที่ว่าเลือกกันไม่ถูกเลยทีเดียว

ประวัติความเป็นมาข้าวหลามหนองมนแม่นิยม
คุณยายนิยม สร้อยสน อายุ 78 ปี อยู่ใกล้ตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี เล่าให้ฟังว่าได้ทำข้าวหลามมานานกว่า 40 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การทำกินเองภายในครอบครัว การทำข้าวหลามไปทำบุญที่วัด จนกระทั่งมาทำขาย ระยะแรกขายกระบอกละ 1 บาท การทำข้าวหลามขายในช่วงนั้นไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะคนในท้องที่ส่วนใหญ่ไม่นิยมซื้อมา รับประทาน จนกระทั่งมีคนต่างถิ่นและนักท่องเที่ยวเข้ามา ทำให้ข้าวหลามหนองมนโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงมีผู้ทำขายจำนวนมาก ที่ทำขายมีตั้งแต่ 4 กระบอก 100 บาท หรือ 5 กระบอก  200 บาท หรือ 5 กระบอก 100 บาท แล้วแต่ขนาดของกระบอก เมื่อก่อนทำเฉพาะข้าวเหนียวผสมถั่วดำเวลานี้มีการปรุงแต่งไส้หรือหน้าหลากหลายออกไป เช่น มีทั้งไส้เผือกหรืออาจเรียกว่าหน้าเผือก เพราะใส่ชิ้นเผือกไว้ด้านบน ไม่ได้ผสมในข้าวเหนียว หรือเป็นหน้ามะพร้าวอ่อน สังขยา กล้วย  เป็นต้น เวลานี้ได้ลูกๆ เป็นหลักในการทำ ส่วนคุณยายช่วยขาย ช่วยจัดใส่ถุง ทุบข้าวหลาม และตอบคำถามเวลา มีคนซื้อที่อยากรู้เรื่องราวของข้าวหลาม 

คุณยายพูดถ่อมตัวอยู่เสมอว่า  ข้าวหลามของคุณยายทำเหมือนกับของคนอื่น ไม่มีอะไรแตกต่างกัน พร้อมกับยิ้มอย่างใจดีและบอกว่า “เวลาทำต้องเลือกของดีๆ ล้างให้สะอาด ปรุงรสให้ดี อย่าเสียดายของ”




ซึ่งเสน่ห์ของข้าวหลามแม่นิยม นอกจากความสดใหม่ที่แบบเผาไปขายไปแล้วก็คือ ของกรรมวิธีในการเผาอ่ะค่ะ โดยข้าวหลามแม่นิยมเป็นข้าวหลามเจ้าเดียวในจังหวัดชลบุรี ที่ยังทำการเผาด้วยฟืนจากกาบมะพร้าวตามวิธีการเผาแบบโบราณ

กรรมวิธีในการทำข้าวหลามของแม่นิยมจะเริ่มต้นจากการนำกระบอกไม้ไผ่มาตัดให้เป็นท่อนสั้นตามความต้องการก่อนนะคะซึ่งไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้ทำเป็นกระบอกข้าวหลามเนี่ยคุณยายนิยมบอกว่าเมื่อก่อนจะใช้เป็นไผ่สีสุก เพราะเป็นไผ่ชนิดเดียวที่มีเยื่อข้างใน แต่ในปัจจุบันด้วยความที่ไผ่สีสุกเริ่มหายาก ก็เลยมีการปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นไผ่ทั่วๆ ไป อย่างไผ่ตรงไผ่ป่าแทนอ่ะค่ะ ซึ่งไผ่พวกนี้คุณยายก็จะรับซื้อมาจากชาวบ้านแถวกาญจนบุรีนะคะ และเมื่อตัดไผ่เป็นท่อนเรียบร้อยแล้ว คุณยายก็จะเอาข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้จนนุ่มแล้วพร้อมๆกับถั่วดำหรือบางทีก็เป็นมะพร้าวอ่อนเผือกมากรอกใส่กระบอกที่เตรียมรอไว้อ่ะ

จากนั้นคุณยายก็นำกระบอกไปปักลงบนดินตรงจุดที่จะใช้ที่เผาเผาข้าวหลาม โดยปักให้มีความลึกประมาณ 2 นิ้ว และเรียงกันเป็นแถวตามแนวยาวนะคะ เสร็จแล้วคุณยายก็จะค่อย ๆ เทน้ำกะทิใส่ลงไปในแต่ละกระบอก แล้วก็เริ่มจุดไฟเพื่อเผาข้าวหลามอ่ะค่ะ

สำหรับวัสดุที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาข้าวหลาม คุณยายเล่าให้ฟังว่า หลักๆก็จะใช้เป็นกาบมะพร้าวที่เป็นกาบแข็ง ๆ นะคะ โดยข้าวหลาม 1 ชุด เนี่ย จะใช้เวลาในการเผาประมาณ 3-4 ชม. ขึ้นอยู่กับขนาดกระบอกและปริมาณข้าวเหนียวที่อยู่ในกระบอกอ่ะค่ะ โดยในระหว่างการเผา ไม่ใช่ว่าแค่จุดไฟแล้วก็จบนะคะ แต่จะต้องคอยดูความแรงของไฟตลอดเวลา หากไฟแรงเกินก็จะต้องคอยเขี่ยถ่านออก และหากไฟอ่อนเกิน ก็จะต้องคอยเขี่ยถ่านให้เข้าไปใกล้ ๆ กระบอกด้วย และเมื่อข้าวหลามสุกดีแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะหยิบขึ้นมาวางขายได้เลยนะคะ แต่จะต้องเอาไปล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งก่อน ถึงจะเอามาขึ้นมาวางที่หน้าร้านได้อ่ะค่ะ



ตำแหน่งร้าน (อธิบายโดยอ้างอิงจากสถานที่ที่เห็นได้ง่าย) : ร้านข้าวหลามแม่นิยม เปิดบริการตั้งแต่เวลา 07.00 – 22.00 น. มาตามเส้นสุขุมวิทผ่านตลาดหนองมนผ่านปั้มปตท.  เจอสี่แยกไฟแดงแล้วเลี้ยวขวาขับตรงเข้ามาก็จะเจอร้านแม่นิยมตลาดหนองมนจ.ชลบุรี 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-383-91240, 08-6142-5989
ผู้ให้ข้อมูล   
คุณยายนิยม สร้อยสน และ คุณกัลยา  สร้อยสน  
ผู้เรียบเรียง
นางสาวกิรณาภัค  อินพุ่ม


ข้าวฮางกุดรัง

 ข้าวฮางกุดรัง

     กลุ่มข้าวฮางกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ผลิตและจำหน่ายข้าวฮาง ข้าวกล้อง เมล็ดพันธุ์ข้าวเหนีนวดำพันธุ์ลืมผัว และพันธุ์ข้าวเจ้ามะลิดำ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มข้าวฮางกุดรัง รหัสทะเบียน 4-44-12-01/1-0022 ที่อยู่ 141 หมู่ที่ 1 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม 44130 นอกจากกลุ่มได้นำผลผลิตข้าวเปลือกจากชุมชนไปแปรรูปเป็นข้าวฮาง ตามแบบฉบับดั้งเดิมที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่รู้จักกันในชื่อข้าวฮางกุดรัง ข้าวเพื่อสุขภาพ ได้รับการคัดสรรเป็นโอท็อป 5 ดาว ซึ่งมีทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมนิล ข้าวเจ้ามะลิแดง ข้าวเจ้ามะลิดำ และข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ซึ่งมีการบรรจุภัณฑ์ด้วยระบบสูญญากาศตามขั้นตอน ก่อนส่งขายตามวิถีตลาดแล้ว กลุ่มยังได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวที่ผ่านตามกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้จำหน่าย กว่า ๕๐ ตัน และพันธุ์ข้าวเจ้ามะลิดำในราคาต้นทุนเพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจนำไปปลูกข้าวกลุ่มข้าวสีม่วงดำ โดยใช้การตลาดนำการผลิตซึ่งข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวเป็นหนึ่งในกลุ่มข้าวสีม่วงดำที่จะส่งเสริม ตามข้อมูลสำนักวิจัยและพัฒนาข้าวระบุว่าข้าวพันธุ์นี้ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ หรือที่เรียกกันว่า “ข้าวเหนียวดำ” เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ด้วยรสชาติที่อร่อย ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศ ที่เหมาะสม ได้ 490 กก./ไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 200-350 กก./ไร่ 
        ประโยชน์ของสารกาบ้าจากข้าวฮางงอก
สาร กาบ้า(GABA) หรือ Gamma Amino Butyric Acid ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อ ประเภท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ anterior pituitary ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (high) ให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระชับและเกิดสารป้องกันไขมัน ที่ชื่อ lipotropic ในวงการแพทย์มีการนำสารกาบ้ามาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น สารกาบ้ายังมีผลกระตุ้นฮอร์โมน ทำให้ระดับฮอร์โมนมีสม่ำเสมอ ช่วยชะลอความแก่ และขับเอ็นไซม์ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ควบคุมระดับน้ำตาลและพลาสมา คอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ให้เลือดไหลหมุนเวียนดีและลดความดันเลือดลง กระตุ้นการขับถ่ายน้ำดีสู่ลำไส้เพื่อสลายไขมัน ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย


    คุณค่าทางโภชนาการของข้าวฮางงอก   
เนื่องจากอุดมด้วย คุณค่า วิตามินบี 1, บี 2 ไนอะซิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม (GABA : Gamma Amino Butyric Acid) ช่วยลดความดันโลหิตและปริมาณคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งมีธาตุแมงกานีสในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง นอกจากนั้น ข้าวฮางงอกมีค่าการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญที่มนุษย์จำ เป็นต้องใช้ในการควบคุมระบบประสาท รวมทั้งกล้ามเนื้อ นอกจากนั้น จากกรรมวิธีผลิตข้าวฮางงอกทำให้ได้ข้าวเต็มเมล็ดที่มีจมูกข้าวและรำข้าวซึ่ง เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ รวมกว่า 20 ชนิด อีกทั้งข้าวฮางมีเส้นใยอาหารปริมาณสูง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย จุดเด่นของข้าวฮางงอกที่ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว จะมีลักษณะพิเศษนิ่มอร่อยใกล้เคียงข้าวขาว 

อ้างอิง : กศน.ตำบลกุดรัง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกุดรัง
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม


การทำน้ำปู

 


ประวัติความเป็นมา

             วิถีชีวิตของชาวอำเภอแจ้ห่ม มีความเป็นอยู่แบบเครือญาติแบบพี่แบบน้อง อาชีพหลักคือการเกษตรเช่นทำนา ทำไร่ ทำสวนเป็นส่วนใหญ่ พอถึงระยะเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจะเป็นช่วงที่เป็นฤดูทำนา จนถึงเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม หลังจากนั้นชาวบ้านก็จะปลูกพืชหมุนเวียนเช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ยาสูบ พริก มะเขือ หรือบางรายก็จะทำนาหว่าน หรือไร่นาสวนผสม ตามแต่ความต้องการของแต่ละครอบครัวสนใจด้านใด แต่ในระหว่างทำนานั้น ชาวนาจะมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของปูมาก เพราะปูเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตร เพราะปูเป็นศัตรูของต้นกล้าของข้าว ทำให้ไร่นาข้าวเสียหายผลผลิตตกต่ำและปูก็แพร่หลายมากแก้ปัญหากันเรื่อยมาจากรุ่นสู่รุ่น และอีกอย่างยากำจัดปูไม่มีในสมัยนั้น บรรพบุรุษเราใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่โดยการนำเอาปูมาประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ตามแนวคิดที่มี เช่น
               แนวคิดที่ 1 คิดว่าเอาปูมาทำเป็นอาหาร เช่น ทำปูต้มเค็ม ย่าง ทอด ฯลฯ แต่ก็คงรับประทานไม่ได้ทุกวันก็ยังช่วยแก้ปัญหาไม่ได้กี่มากน้อย
               แนวคิดที่ 2 แก้ปัญหาโดยการนำปูมาดองเก็บได้นานแต่ประกอบอาหารได้เป็นเพียงบางอย่างเท่านั้น เช่น ใส่ส้มตำมะละกอ อีกอย่างไม่มีตลาดรองรับ ไม่มีที่จำหน่าย ปูก็ยังมีจำนวนมาก ช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวนาได้ไม่เท่าที่ควรแนวคิดที่ 3 ต่อมายังเกิดแนวคิดอีกว่าเราน่าจะเอาปูถนอมเป็นอาหารที่เก็บได้นานโดยไม่บูดไม่เสียมีความคิดการณ์ไกลและได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมาจึงเกิดแนวความคิดใหม่ว่าเมื่อปูมีเยอะน่าจะนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นาน และประกอบอาหารได้หลากหลาย ซึ่งมีรสชาติอร่อย มีคุณค่าทางอาหารสูง และปลอดสารพิษอีกด้วย 


กระบวนการผลิต วัตถุดิบและส่วนประกอบ
        2.1.1 ปูนา 3 - 5 กิโลกรัม หรือ (ตามความต้องการ)
        2.1.2 ใบข่า ตะไคร้ ประมาณ 2 ขีดหรือขึ้นอยู่กับจำนวนปูนามีมากหรือน้อย 
        2.1.3 เกลือ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะหรือขึ้นอยู่กับจำนวนปูนามีมากหรือน้อย


ขั้นตอนการผลิต
       2.3.1 เก็บปูในนาข้าวมาประมาณ 3 -5 กิโลกรัม
       2.3.2 นำปูมาล้างน้ำให้สะอาดประมาณ 2 - 3 ครั้ง หรือจนกว่าจะสะอาด
       2.3.3 นำปูที่ล้างมาใส่เครื่องปั่นหรือใส่ครกตำด้วยมือในกรณีที่ไม่มีเครื่องปั่นและเติมใบข่าและตะไคร้ตำเข้าด้วยกัน
       2.3.4 ปูที่ตำหรือปั่นละเอียดแล้วนำมาคั้นกรองเอาแต่น้ำ
       2.3.5 นำน้ำปูที่คั้นน้ำแล้วทิ้งไว้ 1 คืนแล้วตั้งไฟเคี่ยวจนเหนียวจนได้ที่ชิมดูทิ้งไว้ให้เย็น
       2.3.6 นำน้ำปูบรรจุกระป๋องไว้จำหน่ายหรือเก็บไว้รับประทานได้นานแรมปี


อ้างอิงข้อมูลจาก : ห้องสมุดประชาชนอำเภอแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

พต22002 : ภาษาอังกฤษการฟัง-พูด



มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติเกี่ยวกับ ภาษาท่าทาง การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาต่างประเทศ ด้วยประโยคที่ซับซ้อน ในชีวิตประจําวัน และงานอาชีพของตนได้ถูกต้องตามหลักภาษาวัฒนธรรม และกาลเทศะของเจ้าของภาษา ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้  การใช้ประโยคคําสั่ง คําแนะนํา (Introduction) คําขอร้องที่ใช้ในห้องเรียน(Request)  ใจความสําคัญ(Main Idea) หัวข้อเรื่อง (Topic) คําอธิบาย รายละเอียดสนับสนุน (Supporting Detail) พูดโต้ตอบการสื่อสารระหว่างบุคคล บอกความต้องการ พูดขอและให้ข้อมูลง่าย ๆ เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น รวมถึงการบอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยว กับสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่าง ๆ แสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆ ประกอบ สามารถเปรียบเทียบ ( Comparison) เหตุการณ์ต่าง ๆได้

 เป็นรายวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน

ทช21002 : สุขศึกษา พลศึกษา

 


อธิบายธรรมชาติการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ บอกหลักการดูแลและการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของตนเองและครอบครัว ปฏิบัติตนในการดูแล และสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจนเป็นกิจนิสัย ป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยด้วยกระบวนการ ทักษะชีวิต แนะนําการปฏิบัติตนเกี่่ยวกับการดูแลสุขภาพและการหลีกเลี่่ยง ปฏิบัติตนดูแลสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

เป็นรายวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน

ขุนฝางสวนม้าโฮมสเตย์

 
“ขุนฝางสวนม้าโฮมสเตย์” ที่เที่ยวใหม่ในอุตรดิตถ์...สุดมันขี่ม้า-ยิงธนู กลางขุนเขาสไตล์คาวบอย

                ภายในมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุกอย่าง "ให้อาหารม้า" ในราคา 20 บาท และ "ขี่ม้า" โดยจะแบ่งเป็นการขี่ม้าแบบมีพนักงานช่วยจูงนำให้ คิดราคารอบเล็ก 10 นาที ราคา 100 บาท รอบใหญ่ 20 นาที ราคา 200 บาท แบบออกเทรลขี่ม้าเอง (สำหรับคนที่ขี่เป็นอยู่แล้ว) ระยะทาง 2-3 กิโลเมตร ราคา 1,000 บาท และยังมีคอร์สสอนขี่ม้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากเรียนขี่ม้า ซึ่งที่นี่มีม้าไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมถึง 7 ตัวด้วยกันอย่าง มะลิกับสายลม เป็นต้น
                นอกจากให้อาหารม้าและขี่ม้าแล้วก็ยังมีกิจกรรม "ยิงธนู" ที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาคอยให้คำแนะนำในขั้นตอนต่างๆ โดยแบ่งเป็นรอบละครึ่งชั่วโมง ได้ลูกธนู 6 ลูกไว้คอยสลับสับเปลี่ยนในการยิง ราคา 100 บาท 

เมื่อเหนื่อยจากกิจกรรมจนรู้สึกหิวแล้วที่นี่ก็มีร้านอาหารไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวก่อนจะไปลุยกิจกรรมกันต่อ โดยมีเมนูแนะนำอย่าง “ข้าวพันผัก” ที่คล้ายข้าวเกรียบปากหม้อของคนภาคกลางแต่แป้งหนาและมีขนาดใหญ่กว่าห่อไส้ผักหลากชนิดเป็นทรงสี่เหลี่ยม โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว กากหมู ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวหรือใส่ซอสรสเปรี้ยวอมหวานคล้ายน้ำจิ้มหอยทอดที่ประยุกต์ขึ้นมาใหม่เอาใจคนยุคนี้ และยังมีร้านกาแฟ "Suan Maa Coffee"


ข้อมูลอ้างอิงจาก : กศน.ตำบลขุนฝาง ตำบลขุนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์


พต11001 : ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

 


ภาษาอังกฤษพื้นฐานมีสาระสำคัญที่จะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องตามหลักภาษาและวัฒนธรรมของเข้าของภาษา

เป็นรายวิชาระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน

ทช11003 : ศิลปศึกษา

 


มีความรู้ความเข้าใจ มีคุณธรรม จริยธรรม ชื่นชม เห็นคุณค่าความงามความไพเราะ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทางทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์พื้นบ้าน และวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

เป็นรายวิชาระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน

อช11003 : พัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน

 


การพัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกินจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดที่มีการแข่งขันได้โดยมีการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจการจัดทำแผนพัฒนาการตลาดการทำแผนพัฒนาการผลิตหรือการบริการการพัฒนาธุรกิจเชิงรุกและสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน

เป็นรายวิชาระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน

OP33046 Digital Life.




 Students can gain knowledge from other learning resources, ie. Study from textbooks or other resources related to this subject, study from an internet, study from museum, exhibition, various performances, study from resource persons, etc...more

“สวน-สาม-แสน” จากเศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี

 “สวน-สาม-แสน” จากเศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี



นายสมคิด ธีระสิงห์
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 บ้านกลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ที่ทำการ สวนสามแสน หมู่ที่ 10 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-2129090

               
                ความเป็นมาของการเป็นภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียง ณ "สวนสามแสน"
                บ้านกลาง หมู่ที่ 10 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เดิมทีได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่นของจังหวัดลำพูน และมีแนวคิดในการสานต่อเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม จากนั้น ผู้ใหญ่สมคิด ธีระสิงห์ จึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับชาวบ้านในการทำให้เงินจากกองทุนมีความยั่งยืนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ ในพื้นที่บ้านกลางได้มีโรงเรียนร้างแห่งหนึ่ง ที่ไม่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีพื้นที่กว้างขวาง จึงได้ลงความเห็นว่าจะพัฒนาโรงเรียนร้างแห่งนั้นเป็นแปลงปลูกผักของชาวบ้าน โดยที่ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน ปลูกผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ ไว้กินเอง ไว้ขาย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน โดยยึดแนวคิด 3 แสน ได้แก่ แสนพอดี แสนคุ้ม แสนภูมิใจ จึงกลายมาเป็น "สวน สาม แสน" ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ปีละพันกว่าคน เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชน คนในจังหวัด และเป็นต้นแบบให้แก่ จังหวัดอื่น และประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย 



        โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี

      สืบเนื่องจากหมู่บ้านได้รับ คัดเลือกจากอำเภอลี้ ให้เป็นหมู่บ้านนำร่อง หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินด้วยวิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน เพื่อสนองพระเมตตาพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเพื่อน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชุมชน โดยเรื่องที่ใกล้ตัวของราษฎรในหมู่บ้าน คือ เศรษฐกิจพอเพียง ผู้นำชุมชนและราษฎรในหมู่บ้าน มีมติสร้างฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปี 2559 จากเงินงบประมาณกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 30,000 บาท และจากความร่วมมือจากราษฎร และผู้นำชุมชนประสานงาน เพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจนสามารถสร้างฐานการเรียนรู้ ในเรื่อง การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต การทำบัญชีครัวเรือน การลดรายจ่ายสร้างรายได้ จนถึงปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานการเรียนรู้ให้กับ คนในหมู่บ้านเพื่อฝึกปฏิบัติ เป็นฐานการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานราชการ อาทิ เกษตรอำเภอลี้ พัฒนาชุมชนอำเภอลี้ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้ สำนักงานส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดลำพูน(ผาลาด) โรงเรียนปวงคำประชาอุทิศ เทศบาลตำบลลี้ และชุมชนทั่วไปที่รู้จัก
      จากผลการร่วมมือของผู้นำชุมชน และราษฎรในหมู่บ้านที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาศูนย์เรียนรู้ จนได้รับงบประมาณสนับสนุน จากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน หมู่บ้าน 200,000 บาท และมีการพัฒนาให้เกิดตลาดนัดสีเขียว ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนสามแสน เพื่อเป็นจุดจำหน่ายผผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จากหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชน และรองรับการตลาดของชุมชนจนถึงปัจจุบัน และมีการขุดลอกแหล่งน้ำตื้นเขิน เพื่อการกักเก็บน้ำใช้ทางการเกษตรในหน้าแล้ง


                  จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ "สวน สาม แสน" คือการใช้ที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน โดยการนำสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่นโรงเรียนร้าง มาใช้ประโยชน์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละครัวเรือนมีแปลงผักที่ตนเองรับผิดชอบ เลือกผัก ผลไม้ที่จะปลูกได้เอง ใส่ปุ๋ย ดูแลเองด้วยวิธีธรรมชาติ มีผัก ผลไม้ที่ปลอดสารพิษไว้รับประทาน มีกาดมั่วครัวแลง เป็นแหล่งขายผลผลิตทางการเกษตรของสวนสามแสนให้ชาวบ้านได้มาเลือกซื้อ และเป็นจุดสาธิต ศึกษาดูงานให้แก่หน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงาน


                   ประโยชน์ของการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน "สวน สาม แสน"
                   1. พื้นที่รกร้างในหมู่บ้าน ที่เป็นที่ราชพัสดุ ขออนุญาตใช้งานและนำมาใช้ในเกิดประโยชน์แก่ชุมชน แก่สังคมให้มากที่สุด
                   2. ชาวบ้านมีที่ดินทำกินของตนเอง รู้หน้าที่ รับผิดชอบ และดูแลแปลงผักของตนเอง
                   3. ชาวบ้านมีผัก ผลไม้ที่ปลอดสารพิษไว้รับประทาน และสามารถแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นได้
                   4. ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนมีรายได้เกิดขึ้นจากการทำแปลงผัก ผลไม้ ในสวนสามแสน
                   5. สวน สาม แสน กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สามารถเข้ามาเรียนรู้ และสามารถนำไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเอง เป็นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม และเป็นต้นแบบในการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่สามารถทำได้จริง


           ข้อมูลการติดต่อ นายสมคิด ธีระสิงห์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 บ้านกลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
                                      ที่ทำการ สวนสามแสน หมู่ที่ 10 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หมายเลข
                                      โทรศัพท์ : 093-2129090
                                       ข้อมูลเนื้อหา โดย นายสมคิด ธีระสิงห์
                                       เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนางสาวปัทมาภรณ์ จันต๊ะ
                                       ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ 
                                                                                    และนางสาวปัทมาภรณ์ จันต๊ะ
                                       ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : สิงหาคม 2564 

อ้างอิงข้อมูลจาก : ห้องสมุดประชาชนอำเภอลี้ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ข้าวหลามนางเกรียง






ข้าวหลามเป็นอาหารหรือจะเรียกว่าเป็นขนมหวานอีกอย่างก็น่าจะได้ เพราะมีรสหวานจากน้ำกะทิ และน้ำตาลที่ผสมลงไปให้กลมกล่อม  

กลุ่มข้าวหลามนางเกรียงพัฒนา

 เลขที่ 10 หมู่ที่ 2 บ้านนางเกรียง ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

ที่ทำการกลุ่มได้เลือกบ้านสมาชิกเป็นที่ทำการ ด้วยเหตุที่สภาพหมู่บ้าน มีถนนลาดยางเส้นทางไป อบต.ชัยบุรี และไปหมู่บ้านหัตถกรรมกะลามะพร้าว เป็นทางผ่าน สมาชิกกลุ่มจึงนำผลผลิตข้าวหลามมาวางขายอยู่ริมถนน เช่น ที่สะพานไทร

การจัดการ

เนื่องจากราษฎรหมู่ที่ 2 บ้านนางเกรียง ประกอบอาชีพทำนา รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงประกอบอาชีพเสริม ทำข้าวหลามสืบทอดกันมา ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชนได้เข้าไปจัดรวมกลุ่ม และให้ดำเนินการเป็นระบบ มีระเบียบ พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ ขั้นตอนการผลิตที่สะอาดถูกหลักโภชนาการ จัดให้มีการประกวดในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อพัฒนารสชาติให้ได้มาตรฐาน

ติดต่อ : นางสุรีย์ จันทร์คำ


 

อช12001 : การพัฒนาแผนและโครงงานอาชีพ

 


ศึกษาวิเคราะห์แผนและโครงการพัฒนาอาชีพให้มีอยู่ มีกิน ทบทวนองค์ความรู้ในอาชีพ ทักษะในอาชีพที่ต้องฝึกเพิ่มเติม วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ทั้งด้านความต้องการ และคุณภาพ ระบบการ จัดการด้านการผลิต การจัดการการตลาด ระบบการบัญชี ประเมินผลการประกอบอาชีพ พัฒนา แผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพให้สามารถมีอยู่ มีกิน มีรายได้

เป็นรายวิชาระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน


ขนมทองม้วน




“ ขนมทองม้วน ” อีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่ใครหลายๆ คน ต้องเคยลิ้มลองรสชาติกันมาบ้างแล้ว รสชาติหวาน มัน กรอบ สมัยนี้หารับประทานได้ไม่ยาก มีขายตามร้านค้า ตามท้องตลาดมากมาย ยิ่งถ้าหากทำทานเองที่บ้าน ทำเพื่อใช้ในงามงคลต่างๆ วัตถุดิบก็หาได้ไม่ยาก หรือจะทำขายเพื่อเป็นอาชีพเสริมก็ได้ เพราะวันนี้มีสูตรและวิธีการทำขนมทองม้วน มาฝากผู้ที่สนใจทุกท่าน ไม่แน่หากได้เห็นขั้นตอนการทำแล้ว อาจบอกว่าไม่ยากเลยก็ได้



ส่วนผสม

-แป้งมัน 130 กรัม
-แป้งข้าวเจ้า 10 กรัม
-แป้งท้าวยายม่อม 20 กรัม
-เกลือ 1/4 ช้อยชา
-กะทิ 1 ขวด
-ไข่ไก่ 1 ฟอง
-เนื้อมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย
-งาดำคั่ว ตามชอบ
-งาขาวคั่ว ตามชอบ
-น้ำตาลมะพร้าว 1/2 ถ้วย
-น้ำดอกอัญชัน 2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำใบเตย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

-ผสมแป้งมันกับแป้งข้าวเจ้าและแป้งท้าวยายม่อม ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย

-เทกะทิลงไปทีละครึ่งขวด แล้วนวดแป้งให้เข้ากันจนกว่ากะทิจะหมดขวด

-ใส่ไข่ไก่ เนื้อมะพร้าว แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นก็ใส่งาดำและงาขาวลงไป

-แบ่งแป้งเป็น 3 ถ้วยเท่าๆ กัน ใส่สีที่ต้องการลงไป แล้วคนให้เข้ากัน

-ตั้งกระทะเปิดไฟอ่อนถึงปานกลาง หยอดแป้งลง เมื่อแป้งเริ่มสุกก็พลิกกลับอีกด้านแล้วรอให้สุกทั้งสองด้าน

-จากนั้นก็ม้วนขนมแล้วตักขึ้นมาเรียงใส่จานไว้พร้อมเสิร์ฟ


ขนมทองม้วน 
ติดต่อสอบถามได้ที่ นางภัทรา  ปูขาว

ที่ตั้ง 50 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000


 

สค12025 : ลูกเสือ กศน.

 



ลูกเสือ กคน. ระดับประถมศึกษา เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับลูกเสือกับการพัฒนาการลูกเสือไทย การลูกเสือโลก คุณธรรม จริยธรรมของลูกเสือ วินัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ลูกเสือ กคน. กับการพัฒนา ลูกเสือ กคน. กับจิตอาสา และการบริการ การเขียนโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ทักษะลูกเสือ ความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือการปฐมพยาบาล การเดินทางไกล อยู่ค่ายพักแรม และชีวิตชาวค่าย และการ‘สกปฏิบัติการเดินทางไกล อยู่ค่ายพักแรม และชีวิตชาวค่าย เน้นการสกปฏิบัติให้เกิดทักษะ โดยนำหลักการและคำปฏิญาณของลูกเสือมาสร้างวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการบริการไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตของตนเองและชุมชนต่อไป

เป็นรายวิชาระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ


ทุเรียนกวนโต๊ะเด็ง





นายสุทิน บุตตะจีน ชาวตำบลโต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ยึดอาชีพทำทุเรียนกวน หรือภาษายาวีเรียกว่า “ลือโปะ” ต่อจากพ่อแม่มานานกว่า 30 ปี เพราะที่บ้านปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองเป็นจำนวนมาก อีกทั้งแก้ปัญหาทุเรียนล้นตลาดและราคาตก โดยหาวิธีผลิตให้รวดเร็วขึ้นด้วยการสั่งทำกระทะทองเหลืองเส้นผ่านศูนย์กลาง 62 นิ้ว ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากวนทุเรียนแทนแรงงานคน และใช้แก๊สหุ้งต้ม ทำให้ผลิตได้ถึงวันละ 100 กก. ใช้เฉพาะทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองหรือทุเรียนบ้านที่ปลูกในสวนหรือรับซื้อจากชาวบ้าน เพราะมีรสชาติหวานมันกว่าทุเรียนพันธุ์ เมื่อกวนได้ที่จะจับเป็นก้อนแข็งโดยไม่ต้องผสมแป้ง ใช้น้ำตาลทรายขาวน้อยกว่าและไม่ติดมือ เมื่อรับประทานจะรู้สึกว่าเป็นเนื้อทุเรียนล้วน หอมหวานมันลงตัว  

 

อำเภอเมืองปาน

          หนีร้อนให้อาบน้ำ หนีรักให้มาหาเรา อำเภอเมืองปานยินดีต้อนรับทุกท่าน ที่ต้องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ท่องเที่ยวธรรมชาติ ชุมชนท้องถิ่น  ที่มีภูมิปัญญา วัฒนธรรมที่สวยงาม บรรยากาศดี เที่ยวแล้วติดใจ ไม่ผิดหวังแน่นอน

            การเดินทางมาท่องเที่ยวอำเภอเมืองปาน ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอวังเหนือ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแจ้ห่มทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองลำปาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่ออนและอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอำเภอเมืองปานตั้งใน เขตพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดลำปาง เมื่อเดินทางสายหลัก เส้นทางถนนจากอำเภอเมืองลำปางมาอำเภอเมืองปาน ตลอดเส้นทาง มีสภาพภูมิทัศน์เป็นภูเขา ป่าไม้เขียวชะอุ่ม ตลอดเส้นทางซ้ายและขวา เดินทางท่ามกลางธรรมชาติอ้อมล้อม อากาศเย็นสบาย เหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อน อำเภอเมืองปานประกอบอาชีพท้องถิ่นส่วนใหญ่ เกษตรกร ค้าขาย ขายเห็ด ขายไข่ ขายจักสานไม้ไผ่ ชะลอมใส่ไข่น้ำแร่ ตะกร้าไม้ไผ่เป็นต้น สามารถพบเห็นร้านค้าข้างทางขายสินค้า ขายของป่าตลอดเส้นทางมาอำเภอเมืองปาน เมื่อมาถึงตัวอำเภอเมืองปางจะพบกับสามแยกร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นทางซ้ายมือ มองกลับเส้นทางที่เดินทางมาจะเห็นวัดเฉลิมพระเกียรติลำปาง(วัดพระพุทธบาทสุทธาวาส)บนยอดเขาสีขาวงดงาม ตามเส้นทางถนนหากเลี้ยวไปทางซ้ายจะไปศูนย์ราชการอำเภอเมืองปาน เลี้ยวตามถนนไปทางด้านขวาเป็นทางไปตำบลแจ้ซ้อนอำเภอเมืองปาน และสามารถเดินทางไปถึงอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
              ในอำเภอเมืองปานมีทั้งหมด 5 ตำบล 56 หมู่บ้าน ในแต่ละตำบลของอำเภอเมืองปานจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายแตกต่างกันไป วันนี้เราจะมารู้จักสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเมืองปานกันค่ะ


             วัดข่วงกอม วิหารไม้สักหลังใหญ่ เด่นสง่า ทางเข้าเป็นซุ้มประตูโขงออกแบบด้วยไม้สักเป็นหลัก สองข้างซ้ายขวาประดับด้วยสิงห์โบราณสีขาว ส่วนบันไดทางเดินออกแบบโดยการนำหินก้อนใหญ่มาเรียงในรูปทรงโค้งครึ่งวงกลม สร้างขึ้นโดยครูบาศรีวิชัย อายุมากกว่า 200 ปี มีประวัติการตั้งวัดข่วงกอมอยู่บริเวณหน้าวัด วัดข่วงกอมตั้งอยู่บนเส้นทางไปอุทยานแจ้ซ้อน ลานหน้าวัดเป็นลานกว้างขวางจอดรถได้สะดวก



              อุทธยานแห่งชาติแจ้ซ้อน นักท่องเที่ยวสามารถต้มไข่น้ำแร่ ซึ่งไข่ต้มน้ำแร่จะมีไข่ขาวที่ไม่สุกไข่แดงสุก ต่างจากไข่ต้มธรรมดาที่ไข่ขาวสุกไข่แดงไม่สุก และยังมีห้องอาบน้ำแร่ บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย ต้มไข่น้ำแร่แจ้ซ้อน เคล็ดลับความอร่อย ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการต้มไข่ เช่นกลางวันอากาศร้อนจะต้มไข่ที่เวลา 13-15 นาที ช่วงเช้า,เย็น จะต้มไข่ที่อุณหภมิ 15-17 นาที ทั้งนี้การต้มไข่ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวว่าชอบไข่ลักษณะการสุกของไข่แบบไหน ดังคำเหนือที่ว่า ของกิ๋นจะล่ำ อยู่ตี้คนมัก
              ภายในอุทยานมีน้ำตกแจ้ซ้อน  เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำแม่มอน น้ำตกมีความสูงแต่ละชั้นแตกต่างกัน ทั้งหมดจำนวน 6 ชั้น ในแต่ละชั้นจะมีความสวยงามที่แตกต่างกัน มีแอ่งน้ำรองรับ มีบริเวณสำหรับเล่นน้ำหรือแช่เท้า น้ำเย็นสบาย บริเวณที่มีความลึกจะมีป้ายเตือนห้ามเล่นน้ำ และมีเจ้าหน้าที่อุทยานประจำในแต่ละจุด และเดินตรวจสอบความปลอดภัยทุกชั่วโมง มีลานจอดรถยนต์ที่กว้างขวาง สะดวก และปลอดภัย มีทางเดินเท้าที่สวยงามท่ามกลางต้นไม้ใบหญ้าเขียวขจี ริมทางสองฝั่งตลอดเส้นทาง มีลานกางเต็นท์ในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด เมื่อเดินชมบริเวณรอบๆอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนแล้ว ภายในอุทยานมีบริการนวดแผนไทย ในราคาชั่วโมงละ 150 บาท  และห้องอาบน้ำแร่ ใช้น้ำแร่ที่ต่อท่อโดยตรงมา จากบ่อน้ำพุร้อน มีอุณหภูมิน้ำแร่ประมาณ 39-42 องศาเซลเซียส บริการ นักท่องเที่ยวทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. และในวันหยุดเปิดบริการ ตั้งแต่ 06.00 – 19.00 น.



              บ้านป่าเหมี้ยง แหล่งท่องเที่ยวต่อมาขอแนะนำศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง บ้านป่าเหมี้ยงมีประชากรประมาณ 140 หลังคาเรือน เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมานานกว่า 200 ปี ในการเดินทางไปยังป่าเหมี้ยง สวรรค์บนดอย บรรยากาศดีเย็นสบาย ร่มรื่นด้วยดอกไม้ใบหญ้า ประดับเส้นทางด้วยต้นดอกเสี้ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถรับชมดอกเสี้ยวบานในงานเทศกาลดอกเสี้ยวเสี้ยวบาน ทุกเดือนพฤษภาคมของทุกปี สวยงามคล้ายคลึงดอกซากุระเมืองไทย บนถนนที่ลัดเลาะไปตามไหล่เขามีความงดงามของป่าสองข้างทางให้ชื่นชม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนเหมี้ยงหรือเมี่ยง และปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา ปลูกต้นแมคคาเดเมีย อาชีพเสริม คือ ปลูกเสาวรส ชาวบ้านในชุมชนของป่าเหมี้ยงนั้น บอกได้เลยว่าหากมาแล้วย่อมติดใจ เพราะด้วยความน่ารักเป็นกันเอง อีกทั้งยังมีความงดงามโดยรอบของธรรมชาติ ที่สามารถสัมผัสได้ในมุมต่างๆ และที่สำคัญคือ วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและงดงามของความเป็นของชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง หากนักท่องเที่ยวชื่นชอบธรรมชาติศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง เป็นอีกหนึ่งทางเลือก แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ



             ดอยจิกจ๊องฆ้องคำ สำหรับนักท่องเที่ยวท่องเที่ยวแอดเวนเจอร์ สายเดินป่า ขอแนะนำดอยจิกจ้องฆ้องคำ ตั้งอยู่บนภูเขาเส้นทางเดิน 5 กิโลเมตรที่ค่อนข้างชัน เมื่อมาถึงจะพบกับความสวยงามทะเลหมอก วิวทิวทัศน์ที่สามารถมองได้รอบด้าน 360 องศา
             นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ วัฒนธรรม ประเพณีของอำเภอเมืองปาน ผ่านการรับชมทิวทัศน์ ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์วัดโบราณ ประเพณีท้องถิ่น ดังคำขวัญของอำเภอเมืองปานที่ว่าแหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแจ้ซ้อน บ่อน้ำแร่ลือนาม สืบสานโครงการพระราชดำริ วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง


อ้างอิงจาก : ห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองปาน ตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

พว11001 : วิทยาศาสตร์

 


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและโครงงานวิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ สารเพื่อชีวิต สมบัติของสาร การแยกสาร สารในชีวิตประจำวัน การเลือกซื้อ และการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย แรงและพลังงานเพื่อชีวิต เรื่อง การเคลื่อนที่ของแรง งานและพลังงานในชีวิตประจำวัน ดาราศาสตร์เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์โลกและดวงจันทร์

เป็นรายวิชาระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เข้าสู่บทเรียน


แกงไตปลาแห้งฉวีวรรณ




ไปเมืองตรังแวะซื้อ “แกงไตปลาแห้งฉวีวรรณ” รับรองไม่ผิดหวัง

ที่อยู่ 251/1 ถ.ท่ากลาง ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง จ.ตรัง โทร 081-3964998 


       กลุ่มสตรีชุมชนท่าจีน เมืองตรัง แปรรูปแกงไตปลา คิดค้นสูตรแกงไตปลาแห้งจนได้ขึ้นทะเบียนเป็น OTOP บรรจุกล่องพลาสติกพกติดตัวได้สะดวก รับประทานง่ายเพียงแค่เปิดฝานำไตปลาแห้งคลุกกับข้าวสวยร้อนๆ มีจำหน่ายทั้งไตปลาน้ำ ไตปลาแห้ง และไตปลาเจ ส่งออกขายต่างประเทศเดือนละ 1,500 ขวด

     แกงพุงปลา” หรือแกงไตปลาแห้งเมืองตรัง ถือเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในรูปแบบของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย “ชุมชนท่าจีน” เทศบาลนครตรัง ซึ่งดั้งเดิมจะผลิตกันในลักษณะของแกงไตปลาน้ำ เพื่อใช้รับประทานร่วมกับอาหารประจำวัน หรือรับประทานกับขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ เพื่อเสริมรสชาติให้เกิดความอร่อยยิ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะของแกงไตปลากระดี่ หรือที่ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า แกงไตปลาขี้เด หรือขี้ดี จะมีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะตัว และมีรสชาติกลมกล่อมเป็นอย่างมาก
ประวัติความเป็นมา

สืบเนื่องจากชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำตรัง อันเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนทั่วทั้งจังหวัดมายาวนานแล้ว ทำให้มีแหล่งปลาน้ำจืด อย่างปลากระดี่ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว ชาว “ชุมชนท่าจีน” จึงได้คิดค้นสูตรแกงไตปลาแห้งขึ้น เพียงแต่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน จวบจนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 “กลุ่มสตรีชุมชนท่าจีน” จึงได้รวมตัวกันขึ้น ในนามกลุ่มส่งเสริมการมีรายได้ ก่อนที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในปีเดียวกันนี่เอง

     ทั้งนี้ ทางกลุ่มได้เริ่มจากการประยุกต์จากแกงไตปลาน้ำแบบตั้งเดิม มาดัดแปลง และปรับปรุงสภาพให้เป็นแกงไตปลาแบบแห้ง เพื่อนำไปบรรจุกล่องพลาสติก ให้สามารถพกพาติดตัวได้ง่าย ต่อมา จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยเปลี่ยนแปลงมาบรรจุผลิตภัณฑ์ในขวดแก้ว และใช้ความร้อน 121 องศาเซลเซียส โดยกระบวนการสเตอริไรซ์ จนได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เลขที่ 323/2547 จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2549
สำหรับแกงไตปลาแบบแห้งนี้ นับเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากปราศจากสารกันบูด รวมทั้งอุดมไปด้วยโปรตีนจากปลา และสมุนไพร เช่น กระเทียม ขมิ้น ตะไคร้ ข่า พริกขี้หนู พริกไทย มะกรูด โดยเริ่มจากการต้มไตปลานานประมาณ 30 นาที เพื่อกรองเอาน้ำใส แล้วนำมาผสมเข้ากับเนื้อปลากระดี่ สมุนไพร กะปิ และน้ำตาลทราย ก่อนบรรจุใส่ขวดแก้ว เพื่อนำไปอบด้วยความร้อนสูง ซึ่งจะช่วยให้สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานถึง 1 ปี แล้วนำไปปิดฝา โดยผนึกด้วยซีลอย่างดี และติดฉลากก่อนบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งไปวางขาย

     “นางฉวีวรรณ ช่วยแจ้ง” ประธานกลุ่มสตรีชุมชนท่าจีน บอกว่า จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ก็คือ เป็นแห่งเดียวของประเทศไทยที่สามารถนำปลาน้ำจืดมาผลิตเป็นไตปลาแห้งได้สำเร็จ ขณะที่อื่นๆ จะเป็นแค่ปลาน้ำเค็ม ซึ่งรองรับผู้บริโภคได้เพียงแค่กลุ่มเดียว ส่วนเนื้อปลา ก็จะใช้การนึ่งแทนการย่าง ทำให้มีรสชาติดีกว่า และยังไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ขณะเดียวกัน น้ำที่ได้จากการนึ่งยังสามารถนำไปใช้รดต้นไม้ได้ด้วย จนส่งผลให้ทางกลุ่มได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าระดับ 5 ดาว ภายใต้ทะเบียนการค้า “ฉวีวรรณ” ในปี 2556


     ทั้งนี้ ล่าสุดได้มีการผลิตแกงไตปลาช่อน มาเพิ่มอีก 1 ชนิด รวมทั้งแกงไตปลาเจ สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติตนตามศีล 5 เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ทุกอย่างจะไม่มีเนื้อสัตว์ 100% อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ครอบคลุมตลาดมากยิ่งขึ้น ทางกลุ่มจึงได้ผลิตแกงไตปลาทู เสริมเข้าไปด้วย ขณะที่วิธีรับประทานก็ทำได้ง่ายมาก แค่เปิดขวดแล้วตักมาคลุกกับข้าวร้อนๆ ก็สัมผัสความอร่อยได้ทันที หรือนำแกงไตปลา 1 ขวด ไปเติมน้ำ 1-2 ถ้วยตวง แล้วตั้งไฟให้เดือด ก่อนที่จะเติมปลาหรือผักเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ

      ปัจจุบัน แกงไตปลาแห้งเมืองตรัง มีจำหน่ายใน 3 รูปแบบ คือ ไตปลาแห้ง ราคาขวดละ 75 บาท หรือเป็นขนาดชุดละ 2 ขวด ราคา 130 บาท และขนาดชุดละ 3 ขวด ราคา 190 บาท ส่วนไตปลาน้ำ มีราคาขวดละ 90 บาท และไตปลาเจ  มีราคาขวดละ 75 บาท สำหรับตลาดที่วางขาย นอกจะเป็นในจังหวัด และต่างจังหวัดแล้ว ยังมีการส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีคนไทยไปอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก โดยมียอดขายเดือนละ 1,500 ขวด หรือปีละ 5 แสนบาท




ผู้จัดทำ นางสาวสุภาภรณ์  ทองรอด  ครู กศน.ตำบลทับเที่ยง

กศน.อำเภอเมืองตรัง  สนง.กศน.จังหวัดตรัง


 

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand